การทำปุ๋ยหมักวิธีใหม่แบบไม่กลับกอง

ปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง

การทำปุ๋ยหมักวิธีใหม่แบบไม่กลับกองวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 เป็นผลการค้นคว้าวิจัยของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปี พ.ศ. 2552 เกิดนวัตกรรมใหม่ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่ต้องพลิกกลับกอง เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดี ปริมาณมากครั้งละ 10-100 ตัน มีค่าตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2551 เสร็จภายในเวลาเพียง 60 วัน ด้วยกรรมวิธี การทำปุ๋ยหมักวิธีใหม่ แบบไม่กลับกอง เรียกว่า ‘วิศวกรรมแม่โจ้1’ การทำปุ๋ยหมักวิธีใหม่ ไม่ส่งผลเสียใดๆ ต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกลิ่น น้ำไม่เสีย ใช้วัตถุดิบมีเพียงเศษพืช กับมูลสัตว์เพียง 2 อย่างเท่านั้น ส่วนผสม เศษพืช : ฟางข้าว เศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผักตบชวา 4 ส่วน มูลสัตว์ 1 ส่วน เศษใบไม้ 3 ส่วน มูลสัตว์ 1 ส่วน วิธีทำ 1.นำฟางข้าว หรือเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4 ส่วน กองเป็นชั้นบางๆ สูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร ฐานกว้าง 2.50 […]

Read more

การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น

ปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น

เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี และประหยัดต้นทุนการทำปุ๋ยหมัก ควรเลือก การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น คำว่าวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นนั้น ไม่ว่าในสวน ในบริเวณบ้านของเราจะมีวัสดุเหลือใช้ชนิดใด ก็สามารถนำมาหมักเป็นปุ๋ยได้ทั้งนั้น อาจจะทำไว้ใช้ในครัวเรือน เรือกสวนไร่นาของตัวเอง หรือจำหน่ายเสริมรายได้ ซึ่งไม่ต้องลงทุนมาก ตัวอย่างเช่น ทำสวนลำไย ก็ใช้กิ่งและใบลำไยมาทำปุ๋ยหมัก หรือ กิ่งและใบไม้อื่นๆ ก็นำมาผสมปนเปกันได้ ข้อมูล การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น ในบทความนี้ ได้มาจากประสบการณ์ตรงของเกษตรกร โดยผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลมาจาก หนังสือ ล้ำยุคกับ…นวัตกรรมปุ๋ยหมัก โดย อภิชาต ศรีสะอาด หรือ ถ้าเกษตรกรอยู่ใกล้พื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมที่มีเศษวัสดุเหลือใช้ ที่นำมาทำปุ๋ยหมักได้ สามารถศึกษาสูตรการทำปุ๋ยหมักเพิ่มเติมจากบทความ เคล็ดลับการทำปุ๋ยหมัก ด้วยวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม สูตรการทำปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น มีดังนี้ สูตรการทำปุ๋ยหมักโดยใช้กิ่งลำไย ของ คุณดำรงค์ จินะภาศ นายกเทศมนตรีดำบลทากาศเหนือ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ได้คิดพัฒนาวิธีการทำให้ต้นไม้สมบูรณ์ขึ้น โดยใช้วัสดุเหลือใช้อย่างกิ่งและใบลำไย จนได้ สูตรการทำปุ๋ยหมักโดยใช้กิ่งลำไย โดยมีรายละเอียดดังนี้ การทำปุ๋ยหมักใต้โคนต้น ส่วนผสม 1.กิ่งและใบลำไย 100-200 กิโลกรัม รัศมี 6 เมตร (ปริมาณที่ได้มากน้อยขึ้นอยู่กับการตัดแต่งกิ่ง) หรือเศษพืชอื่นที่หาได้ในท้องถิ่น 2.ปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัม ต่อต้น (สำหรับต้นใหญ่ […]

Read more

การดูแลรักษากองปุ๋ยหมักและการใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก

การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก

การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก และ การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก เป็นสิ่งที่ต่อเนื่องกัน ปุ๋ยหมักจะถูกใช้ประโยชน์ได้ดี ต้องอาศัยการดูแลรักษาที่ดี บทความนี้ ไม่ได้นำเสนอเพียง การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก และ การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก เท่านั้น แต่ผู้เขียนนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์หลังการทำกองปุ๋ยแล้ว ติดตามรายละเอียดนะคะ การดูแลรักษาปุ๋ยหมัก 1.ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ แต่อย่ารดโชกเกินไป การระบายอากาศในกองปุ๋ยไม่ดี จะมีกลิ่นเหม็นอับ 2.ตรวจสอบความชื้นในกองปุ๋ย โดยการใช้มือล้วงลงไปในกองปุ๋ย แล้วหยิบเศษวัสดุออกมาบีบหรือขยำว่ามีน้ำเปียกที่มือ แสดงว่ามีความชื้นมากเกินไป 3.ป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ย ทำลายกองปุ๋ยหมัก ปัญหานี้จะเกิดกับกองปุ๋ยหมักที่ไม่มีคอก ควรหาวัสดุสิ่งของมาวางกันกองปุ๋ยหมักไว้ 4.การพลิกกลับกองปุ๋ย สำหรับกองปุ๋ยแบบกลับกอง ต้องหมั่นพลิกให้ออกซิเจนและระบายความร้อนให้กองปุ๋ย จะได้ปุ๋ยหมักเร็วขึ้น สำหรับกองปุ๋ยแบบไม่กลับกอง ให้ทำช่องระบายอากาศไว้ ปุ๋ยหมักที่นำไปใช้ได้ พิจารณาลักษณะต่างๆ ดังนี้ 1.ลักษณะของเศษวัสดุ—นุ่ม ยุ่ย ไม่แข็งเหมือนช่วงแรก 2.สีของเศษวัสดุ—เมื่อเป็นปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์เศษวัสดุจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจนถึงดำ 3.กลิ่น—ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ต้องไม่มีกลิ่นฉุนของก๊าซต่างๆ ถ้ามี แสดงว่าเศษวัสดุยังย่อยสลายไม่สมบูรณ์ กลิ่นควรคล้ายกับกลิ่นดิน 4.ความร้อน หรืออุณหภูมิในกองปุ๋ยหมัก—จะลดลงเท่ากับอุณหภูมิภายนอกรอบๆ กอง แต่ควรระวังเรื่องความชื้น ถ้าน้อยหรือมากเกินไป อุณหภูมิในกองก็ลดลงได้เช่นกัน 5.หญ้าหรือเห็ดขึ้นบนกองปุ๋ยหมัก—แสดงว่าไม่เป็นอันตรายต่อพืช นำไปใช้ได้ การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก เรานำปุ๋ยหมักไปใช้ประโยชน์ตามชนิดของพืช เพราะพืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารไม่เท่ากัน ผู้เขียนได้นำข้อมูล การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก จากหนังสือ : นวัตกรรมปุ๋ยหมัก […]

Read more

สูตรปุ๋ยหมัก

สูตรปุ๋ยหมัก

สูตรปุ๋ยหมัก ที่ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลมานี้ เป็นสูตรการทำปุ๋ยหมักที่ใช้วัสดุเหลือใช้ หรือวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นของแต่ละคน ประหยัดต้นทุน และยังช่วยลดขยะ รักษาสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่งด้วย อาทิ เช่น การนำผักตบชวามาทำปุ๋ยหมัก ช่วยลดวัชพืชน้ำ, การนำก้อนเชื้อเห็ดเก่ามาทำปุ๋ยหมัก ช่วยลดแหล่งเพาะพันธุ์โรค ท่านที่สนใจการทำปุ๋ยหมัก ลองศึกษา สูตรปุ๋ยหมัก เหล่านี้ดูนะคะ แล้วพิจารณาดูว่าวัสดุในท้องถิ่น หรือใกล้บ้านเรามีอะไรที่นำมาทำปุ๋ยหมักได้บ้าง สูตรปุ๋ยหมัก มีดังนี้ : ปุ๋ยหมักผักตบชวา—ถึงแม้ว้าผักตบชวาจะมีข้อเสีย คือ แพร่พันธุ์ได้เร็วมากก็ตาม แต่ผักตบชวามีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชบนดินทุกชนิด โดยเฉพาะ ธาตุโปแตสเซียมสูง รองลงมาคือ ธาตุไนโตรเจน และ ธาตุฟอสฟอรัส, ยังช่วยป้องกันวัชพืชให้กับพืชบนดินได้, เปลี่ยนดินเหนียวและดินทรายเป็นดินร่วน, ดินอุดมสมบูรณ์ขึ้น, รักษาความชุ่มชื้นและถ่ายเทอากาศในดินได้ดี, ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี, ช่วยพืชละลายธาตุอาหารบางอย่างให้ง่ายขึ้น, ไม่เป็นอันตรายต่อดิน ผักตบชวาที่นำมาทำปุ๋ยหมักได้ทั้งแบบสดและแบบแห้ง ซึ่งแบบสดมีข้อดี คือทำให้กองปุ๋ยมีความชื้นตลอด รดน้ำน้อยลง วิธีทำปุ๋ยหมักผักตบชวาแบบสด 1.ใช้ผักตบชวาเพียงอย่างเดียว—แบบนี้ไม่ยุ่งยาก แต่ใช้เวลาย่อยสลายค่อนข้างนาน วิธีทำ รวบรวมผักตบชวาตามปริมาณที่ต้องการมากองรวมกัน กว้างไม่เกิน 4 เมตร สูงไม่เกิน 3 เมตร ความยาวขึ้นอยู่กับพื้นที่และปริมาณผักตบชวา แล้วย่ำให้แน่นๆ ปล่อยทิ้งไว้ รอเวลาให้กองปุ๋ยย่อยสลายประมาณ 2 ถึง […]

Read more

แมลงและศัตรูของเห็ดการป้องกัน

แมลงและศัตรูของเห็ด

แมลงและศัตรูของเห็ด แมลงและศัตรูของเห็ด เกิดขึ้นได้กับทั้งเห็ดฟาง และเห็ดถุงชนิดต่างๆ ในบทความนี้ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ แมลงและศัตรูของเห็ด และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการป้องกัน และการกำจัดแมลงและศัตรูเห็ดฟาง และเห็ดถุงชนิดต่างๆ ไว้ดังนี้ แมลงและศัตรูของเห็ดฟาง การป้องกัน การกำจัด ไรเห็ด วงจรชีวิตไรในการเจริญเติบโต เริ่มตั้งแต่ตอนเป็น ไข่ จนโตนั้นสั้นมาก โดยใช้เวลาเพียง 4-5 วันเท่านั้น โดยทั่วไปจะพบตัวเมียมากกว่าตัวผู้ถึง 4 เท่า ตัวเมียสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการออกไข่และเป็นตัว โดยไม่จำเป็นต้องผสมพันธุ์กับตัวผู้อีก ระยะเวลาท้องแตกใช้เวลาประมาณ 9 วัน อายุของตัวแม่ที่ได้รับการผสมพันธุ์ จะมีชีวิตอยู่ประมาณ 7-11 วัน ซึ่งสั้นกว่าตัวเมียที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์ คือประมาณ 10-16 วัน การระบาดของไร สามารถระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่เส้นใยเห็ดกำลังแผ่ออกไป หากมีพวกไรดังกล่าวระบาดก็จะทำให้เส้นใยขาดออกจากกัน และไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ เนื่องจากไรพวกนี้ชอบทำลายกัดกินส่วนของเส้นใย ไรศัตรูเห็ดที่พบทำลายเห็ดปลูกในไทยนั้น คือ ไรไข่ปลา วีธีสังเกตไรไข่ปลาที่ขึ้นบนก้อนเชื้อเห็ด อาการที่สังเกตได้ด้วยตาเปล่าก็คือ มีเม็ดกลมเล็กๆ ขึ้นเป็นกระจุกในก้อนเชื้อเห็ดที่ถูกทำลาย ซึ่งจริงๆ แล้วจุดกลมๆ ดังกล่าวเป็นส่วนท้องของไรตัวเมียที่มีไข่และตัวอ่อนสีเหลืองๆ เจริญอยู่ จึงดูเหมือนไข่ปลากระจายอยู่ทั่วไปในก้อนเชื้อเห็ด หากมีการแพร่ระบาดขั้นรุนแรง จะพบเห็นซากตัวเต็มวัยที่ตายแล้ว เป็นผงฝุ่นสีน้ำตาลอ่อน คล้ายขี้เลื่อยละเอียด […]

Read more

การแปรรูปมะม่วง

การแปรรูปมะม่วง

การเสริมรายได้ หรือการมีรายได้อย่างต่อเนื่องด้วย การแปรรูปมะม่วง ไม่ได้มีเพียงเพื่อสนองความต้องการของตลาดในประเทศเท่านั้น ตลาดส่งออกต่างประเทศ ก็ประสบผลสำเร็จด้วยเช่นกัน เพราะความหลากหลายในวิธี การแปรรูปมะม่วง หากเกษตรกร หรือผู้ที่สนใจลงทุนด้าน การแปรรูปมะม่วง สามารถทดลอง หรือดัดแปลงจากสูตรเหล่านี้ได้ตามความชอบ เพื่อให้ได้รสชาติที่ถูกปาก ถูกใจ ผู้รับประทานการแปรรูปมะม่วง แบบแช่เยือกแข็ง ปัจจุบันมีผู้ผลิต “เนื้อมะม่วงสุกแช่เยือกแข็ง” ส่งออกกันมากขึ้น เนื่องจากช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เพราะเป็นการแช่เยือกแข็งเนื้อมะม่วงสุกเฉพาะส่วนที่บริโภคได้เท่านั้น และสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน สะดวกในการเก็บรักษาและขนส่ง มีกลิ่นและรสชาติเหมือนเนื้อมะม่วงสด และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น มีปริมาณวิตามินซีและสารแคโรทีนอยด์ (carotenoids) ที่มีความสำคัญต่อร่างกาย โดยเฉพาะสารเบต้า-แคโรทีน ที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ในร่างกาย เนื้อมะม่วงสุกยังเป็นแหล่งของโพแทสเซียมและเส้นใยอาหารด้วย นอกจากนี้ การแปรรูปมะม่วง โดยการนำผลมะม่วงสุกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อมะม่วงสุกแช่เยือกแข็ง ยังเป็นวิธีลดปัญหาเรื่องโรคและแมลงวันทอง จึงเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลมะม่วงได้อีกทางหนึ่ง สูตร การแปรรูปมะม่วง มะม่วงดองเค็ม ส่วนผสม 1. เกลือ 100 กรัม 2. น้ำสะอาด 900 มิลลิลิตร 3. มะม่วงแก้ว ผลแก่เนื้อแข็ง วิธีทำ 1.นำมะม่วงแก้ว ผลแก่มาคัดผลคุณภาพ ล้างทำความสะอาดผล 2.เตรียมน้ำเกลือ อัตราส่วน น้ำ 900 มิลลิลิตร […]

Read more

การตลาดของมะม่วง

การตลาดของมะม่วง

การตลาดของมะม่วง จากที่มะม่วงเคยเป็นผลไม้ที่ปลูกกันมากแทบทุกครัวเรือนในประเทศไทย แต่ปัจจุบันนี้ มะม่วงกลายเป็นผลไม้ที่ปลูกเชิงการค้า และประสบความสำเร็จทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ในประเทศ การตลาดของมะม่วง ไม่ค่อยเกิดปัญหาเรื่องมะม่วงล้นตลาด เนื่องจากคนไทยยังรับประทานมะม่วงกันเป็นหลัก ส่วนการส่งออกต่างประเทศนั้น การตลาดของมะม่วง มีรูปแบบที่ส่งออกมากที่สุดคือ มะม่วงอบแห้ง รองลงมาเป็น มะม่วงสดหรือมะม่วงแช่แข็งส่งออก และมะม่วงบรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าไม่ได้ ตลาดส่งออกมะม่วงที่สำคัญ สำหรับมะม่วงสด ก็คือ ประเทศจีน เกาหลีใต้ เวียดนาม และญี่ปุ่น ส่วนมะม่วงบรรจุภาชนะ ถูกส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร มะม่วงอบแห้ง ตลาดส่งออกสำคัญก็คือ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และสหราชอาณาจักร ขณะที่มะม่วงแช่แข็ง ส่งไปที่ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเนเธอร์แลนด์ แม้มะม่วงไทยจะมีจุดเด่น แต่ปัจจุบันคู่แข่งสำคัญคือ ฟิลิปปินส์ และอินเดีย ทำให้ไทยต้องเร่งเพิ่มศักยภาพการ ผลิตมากขึ้น เช่น การผลิตนอกฤดู พัฒนามาตรฐานสินค้า เพื่อให้สอดคล้องกับตลาดส่งออกมากยิ่งขึ้น เกษตรกรควรศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อพัฒนาผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากมะม่วงให้มีคุณภาพที่ดีสอดคล้องกับความต้องการของตลาด เพื่อผลกำไรที่ดีและต่อเนื่อง (แหล่งข้อมูล https://www.thairath.co.thจากข้อมูลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยความร่วมมือของ กรมศุลกากร ระบุว่า การส่งออกมะม่วงของไทยปี 2558) เทคนิคการผลิตมะม่วงนอกฤดู การผลิตมะม่วงนอกฤดูนั้น ทำให้เกษตรกรมีรายได้ต่อเนื่องได้ตลอดทั้งปี ขั้นตอนการผลิตมะม่วงนอกฤดู จะเริ่มต้นหลังจากการเก็บเกี่ยวมะม่วงในฤดูแล้ว […]

Read more

ผลมะม่วง

ผลมะม่วง

มะม่วง เมื่อปลูกและดูแลจนกระทั่งออกผล ก็ยังต้องมีการบริหารจัดการเรื่อง ผลมะม่วง ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเกี่ยว การบ่ม การเก็บรักษา ตลอดจนการดูแลสวนมะม่วงหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยว ผลมะม่วง ก่อนเก็บเกี่ยวผล ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดเชื้อรา ครั้งแรก ก่อนเก็บเกี่ยวผล 15 วัน และครั้งที่สอง ก่อนเก็บเกี่ยวผล 7 วัน เพื่อป้องกันโรคเน่า ไม่ควรทำการเก็บเกี่ยว ผลมะม่วง ช่วงเช้าตรู่ จนถึง 9 โมงเช้า เพราะเป็นช่วงเวลาที่น้ำยางไหลแรง จะเปรอะทำให้ผลมีตำหนิ โดยเฉพาะเมื่อผลสุก รอยจะยิ่งชัดขึ้น การเก็บเกี่ยวควรพยายามให้ขั้วผลหรือก้านติดมาด้วยจะช่วยป้องกันน้ำยางทะลักออก สำหรับผลมะม่วงที่ไม่เปรอะมาก ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดเบาๆ ช่วยลดความเสียหายของผลมะม่วงลงได้มาก การเก็บเกี่ยวผลมะม่วงด้วยมือ เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะสามารถเด็ดให้มีก้านทั้งก้านติดมาด้วย ถ้าใช้ตะกร้อสอย ควรใส่ใบมีดคมๆ บริเวณปากตะกร้อ ใบมีดจะตัดก้านมะม่วงพอดีเวลาสอย น้ำยางจะไม่ทะลักออก และระมัดระวังอย่าให้ผลเป็นรอย จากนั้น เด็ดก้านออกให้ชิดผล วางผลคว่ำหัวบนกระสอบหรือวัสดุที่ซับน้ำยางได้ พอสะเด็ดน้ำยางดีแล้วจึงนำไปกำจัดเชื้อรา การฆ่าเชื้อโรคที่ภาชนะบรรจุ โรงคัด หรือห้องบ่ม ตลอดจนห้องเก็บรักษา และการจุ่มผลมะม่วงในน้ำร้อน 52 องศาเซลเซียส และมีสารบีโนมิล 50 เปอร์เซ็นต์ นาน 5 นาที […]

Read more

แมลงศัตรูมะม่วง

แมลงศัตรูมะม่วง

แมลงศัตรูมะม่วง ด้วงงวงกัดใบมะม่วง ตัวเต็มวัยเพศเมีย วางไข่บนใบอ่อนเบริเวณเส้นกลางใบ แล้วจะกัดใบใกล้ขั้วใบเป็นแนวเส้นตรงคล้ายถูกกรรไกรตัด ทำให้ใบอ่อนส่วนที่มีไขติดอยู่ร่วงลงบนพื้นดิน หนอนที่ฟักแล้วจะเจาะเข้าไปกัดกินเนื้อเยื่อใต้ผิวใบ การป้องกันและกำจัด เก็บใบอ่อนที่ด้วงกัดร่วมตามโคนต้นมะม่วงไปเผาหรือฝัง เพื่อทำลายไข่และตัวอ่อน หรือพ่นด้วยสารคาร์บาริล 85 เปอร์เซ็นต์ WP อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้น ตัวเต็มวัย เป็นด้วงหนวดยาว วางไข่ในเวลากลางคืน ตัวหนอนจะกัดกินชอนไชตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้ต้นมะม่วงทรุดโทรม ใบแห้งและยืนต้นตายได้ สังเกตรอยทำลายได้จายขุยไม้ที่หนอนถ่ายออกมาบริเวณเปลือกลำต้น การป้องกันและกำจัด เก็บหนอน และดักจับด้วงด้วยตาข่ายเพื่อตัดวงจรการระบาด และพ่นลำต้นมะม่วงที่มีรอยทำลายด้วยสารอิมิดาโคลพริด 10 เปอร์เซ็นต์ SL อัตรา 30 มิลลิลิตร หรือ อเซทาบิพริด 20 เปอร์เซ็นต์ SP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรเพลี้ยไฟมะม่วง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดน้ำเลี้ยงทำให้ขอบใบและปลายใบแห้ง ดอกร่วง ผลเป็นขี้กลาก มีรอยสากด้าน หรือบิดเบี้ยว ระบาดเมื่ออากาศแห้ง การป้องกันและกำจัด พ่นด้วยสารแลมป์ดาไซฮาโลทริน 2.5 เปอร์เซ็นต์ EC […]

Read more
1 2