การแปรรูปกล้วยน้ำว้าและการจำหน่ายกล้วยน้ำว้า

การแปรรูปกล้วยน้ำว้า

การแปรรูปกล้วยน้ำว้า ในสมัยก่อนมีการแปรรูปกล้วยน้ำว้าเพื่อเป็นการถนอมอาหาร แต่ในปัจจุบันสามารถแปรรูปกล้วยน้ำว้าเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่า  ซึ่งสามารถทำได้หลายหลากวิธี เช่น กวน อบ นึ่ง เป็นต้น บทความนี้ ได้นำเสนอ การแปรรูปกล้วยน้ำว้า ในรูปแบบผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำหว้าแปรรูปด้วยกรรมวิธีถนอมอาหาร ผู้อ่านสามารถติดตาม การแปรรูปกล้วยน้ำว้า ในรูปแบบผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าแปรรูปด้วยกรรมวิธีปรุงสุกสำหรับรับประทานทันที ในบทความ ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าได้ การแปรรูปกล้วยน้ำว้า ให้ได้คุณภาพ และรสชาติที่ดีของผลิตภัณฑ์ ควรคัดเลือกกล้วยน้ำว้าให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ ซึ่งกล้วยน้ำว้าในประเทศไทย จำแนกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กล้วยน้ำว้าไส้ขาว ที่รู้จักกันดีคือ ‘กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง’ เหมาะที่จะทำกล้วยตาก จะได้กล้วยตากสีเหลืองสวย ไม่ดำคล้า, ทำกล้วยแผ่นอบ ได้สีเหลืองที่สวยพอดี กล้วยน้ำว้าไส้เหลือง เหมาะสำหรับการกินผลสด ทำกล้วยเชื่อม กล้วยทอด กล้วยบวชชี เป็นกลุ่มกล้วยที่เหมาะสำหรับการแปรรูป ทำขนม ใช้งานได้หลากหลายที่สุด กล้วยน้ำว้าไส้แดง ไส้ค่อนข้างแข็งมีความฝาด เหมาะสำหรับทำกล้วยเชื่อม หรือทำไส้ข้าวต้มมัด ไส้จะไม่เละ กล้วยกลุ่มไส้แดงนี้ ไม่เหมาะที่จะนำไปทำกล้วยตาก เพราะกล้วยจะคล้ำดำ สีไม่สวย ดูแล้วเหมือนผลิตภัณฑ์เก่า ทำกล้วยบวชชีก็ไม่อร่อย เพราะมีรสฝาด แต่กล้วยน้ำว้ากลุ่มนี้จะให้ผลผลิตค่อนข้างดก ตามที่ได้กล่าวไว้ตอนต้น ถึงประโยชน์อันหลากหลายของกล้วยน้ำว้า การแปรรูปจากผลของกล้วยก็เป็นประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่าที่ได้จากกล้วยน้ำว้า มีให้เลือกหลายรูปแบบ […]

Read more

ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้า

ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้า

ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้า มีนำเสนอไว้ใน การแปรรูปกล้วยน้ำว้า ซึ่งเป็น ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าแปรรูปด้วยกรรมวิธีถนอมอาหาร ซึ่งสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน หรือทำรายได้ให้แก่ผู้ลงทุนทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ นอกเหนือจากนั้น เราสามารถแปรรูปกล้วยน้ำว้าด้วยกรรมวิธีปรุงสุกสำหรับรับประทานทันที หรือจะทำเป็นธุรกิจเสริมรายได้จากการจำหน่าย ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้า ในบทความนี้ได้รวบรวมสูตรง่ายๆ ไว้ให้ผู้อ่านดังนี้ ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้า โดยการแปรรูปด้วยกรรมวิธีปรุงสุกสำหรับรับประทานทันที กล้วยบวชชี หรือ กล้วยบวดชี สูตรขนมหวานที่โปรดปรานของหลายๆ คน พร้อมเคล็ดลับวิธีทำกล้วยบวชชีไม่ให้ฝาด ด้วยความหอมหวานอร่อยกลมกลมของน้ำกะทิและน้ำตาล บวกกับความอร่อยของกล้วยน้ำว้า จริงๆ แล้วกล้วยบวชชีเป็นสูตรขนมไทยที่ทำง่าย ที่มีสูตรขั้นตอนดังนี้ 1.กล้วยบวชชีสูตรอร่อย ส่วนผสม 1. กล้วยน้ำว้า 1 หวี…(เลือกห่ามๆ) 2. น้ำเปล่า 5 ถ้วยตวง 3. หัวกะทิจากถุง 2 + 1/2 ถ้วยตวง 4. น้ำตาลทราย 1 + 3/4 ถ้วยตวง 5. เกลือป่น 2 ช้อนชา วิธีทำ 1. ปอกเปลือกกล้วย ผ่ากล้วยแต่ละลูกเป็น 4 ชิ้น 2. […]

Read more

การกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยสมุนไพร

การกำจัดโรคและแมลงศัตรูในผักไฮโดโปรนิกส์

การกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยสมุนไพร                                เป็นการป้องกันสารเคมีตกค้างในผักไฮโดรโปนิกส์ และพืชผักอื่นๆ ที่เกษตรกรควรเลือกนำมาปฏิบัติ ส่วนผสม วิธีทำ และขั้นตอนต่างๆ ของ การกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยสมุนไพร ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก แต่เมื่อนึกถึงประโยชน์ที่จะได้รับกลับมานั้น นับว่าคุ้มค่าที่จะนำมาใช้ วิธีการป้องกัน การกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยสมุนไพร มีดังนี้ : การหมักซากสัตว์ไล่แมลง ส่วนผสม : หอยเชอร์รี่ 1 ส่วน ปลา 1 ส่วน กุ้ง 1 ส่วน หมู 1 ส่วน เศษเนื้อ 1 ส่วน วิธีทำ : นำวัสดุทั้งหมดมาสับให้ละเอียด น้ำหนักรวมของเนื้อสัตว์ทั้งหมด + กากน้ำตาลในปริมาณที่เท่ากัน เช่น เนื้อสัตว์สับละเอียด […]

Read more

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เชิงการค้า

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เชิงการค้า

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์  การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ที่ไว้กินหรือบริโภคในครัวเรือน หรือเป็นรายได้เสริมนั้น สามารถปลูกได้ทุกชนิด แต่ถ้าปลูกเป็นเชิงการค้าแล้ว เกษตรกรควรคำนึงถึง : 1. อายุเก็บเกี่ยว—วิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วสามารถปลูกพืชต่อได้ทันที ดังนั้น ถ้าเกษตรกรเลือกปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นมาปลูก ในระยะเวลา 1 ปี ก็จะมีการเพาะปลูกได้หลายรอบกว่าการปลูกพืชที่ใช้ดิน 2. ราคาผลผลิต—ปัจจุบันผักปลอดสารพิษ, ผักนอกฤดู และผักที่ปลูกทดแทนการนำเข้ามาจากต่างประเทศจะมีราคาสูงและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เกษตรกรที่ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ก็ไม่ต้องไปแข่งขันกับผักที่ปลูกในดินที่มีต้นทุนต่ำกว่าให้มากนัก ถึงแม้ว่าราคาผักของพืชที่ปลูกในดินจะต่ำกว่าด้วยก็ตาม หากเกษตรกรปรับเปลี่ยนชนิดผักที่ปลูกให้ยืดหยุ่นไปตามฤดูกาลและความต้องการของตลาด ก็เป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้อีกทางหนึ่ง 3. ฤดูปลูก—ถ้าวิธีไฮโดรโปนิกส์สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ได้ดีกว่าการปลูกพืชที่ใช้ดิน เช่น ใช้โรงเรือนในการเพาะปลูกผักไฮโดรโปนิกส์—ไม่ต้องเสี่ยงต่ออากาศร้อน, ฝนตก, แมลง หรือว่า โรค เกษตรกรสามารถปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ได้ทุกฤดูกาล แล้วทำไมเกษตรกรจึงต้องเลือกชนิดผักโดยคำนึงถึงฤดูกาลด้วย? นั่นเป็นเพราะ ผักที่ไม่เหมาะจะปลูกในช่วงฤดูฝน จะมีผลผลิตน้อย ราคาผลผลิตจะสูงขึ้น ถ้าเกษตรกรเลือกนำมาปลูกในช่วงนั้น ก็จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น อุปกรณ์ (วัสดุ เน้นต้นทุนต่ำ) เมล็ดพันธุ์ : มี 2 แบบ 1. แบบเคลือบ เคลือบด้วยดินเหนียวเพื่อรักษาเมล็ดให้มีสภาพคงเดิม(ต้องเก็บไว้ในที่เย็นหรือตู้เย็น) งอกง่ายสม่ำเสมอ เหมาะสำหรับมือใหม่เพราะเมล็ดมีขนาดใหญ่ หยิบง่าย ไม่ต้องใช้ความชำนาญ แต่ราคาแพง 2. แบบไม่เคลือบ ราคาถูกกว่าแบบเคลือบ […]

Read more

การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์

การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์

  การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ไม่ได้มีเพียง การป้องกันโรคของผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา, การกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยสมุนไพร หรือเรื่องแสง และอุณหภูมิเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้ว การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ยังรวมถึง การดูแลเรื่องการเจริญเติบโตของผักไฮโดรโปนิกส์, การเก็บเกี่ยว ตลอดจนถึงการขนส่งผักไปสู่ตลาด เกษตรกรหรือผู้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จะต้องดูแลผักไฮโดรโปนิกส์อย่างไรบ้าง?…ติดตามรายละเอียดในบทความนี้นะคะ การเจริญเติบโต มีหลายสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโต ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญหรือหัวใจหลักของ การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งเกษตรกรควร บริหารจัดการให้ถูกต้อง เพื่อผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ดังนี้   การจัดการธาตุอาหาร ธาตุอาหารที่ครบถ้วน เหมาะสม เป็นอีกหนึ่งปัจจัยของ การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ที่ต้องได้รับการปฏิบัติให้ถูกต้อง สิ่งที่ควรระวัง : การให้สารละลายธาตุอาหารหรือปุ๋ย เริ่มหลังจากนำต้นอ่อนลงรางปลูกแล้ว 1 วัน จึงเริ่มใส่ปุ๋ย ใส่สารละลายธาตุอาหาร A ในน้ำก่อน แล้วทิ้งให้ละลายประมาณ 6 ชั่วโมงจึงใส่ B ตาม เพราะส่วนผสมในสารละลาย A และ B บางตัว จะจับตัวคล้ายกับหินปูนอยู่ในถังพักถ้าใส่พร้อมกัน ไม่ไหลไปกับน้ำเพื่อให้อาหารพืช อัตราส่วนของสารละลายธาตุอาหาร โดยทั่วไปคือ 2ซีซี ต่อน้ำในระบบ 1 […]

Read more

น้ำหมักชีวภาพสำหรับผักไฮโดรโปนิกส์

น้ำหมักชีวภาพสำหรับผักไฮโดรโปนิกส์

น้ำหมักชีวภาพ สำหรับผักไฮโดรโปนิกส์ มีส่วนช่วยใน การดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ได้ดีมาก ช่วยให้ผักเจริญเติบโตได้ดี มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ไม่มีสารเคมีตกค้าง เกษตรกรสามารถเลือกว่าจะสะดวกใช้ น้ำหมักชีวภาพ สูตรที่เหมาะสมกับชนิดผัก วัตถุดิบ และวัตถุประสงค์ได้จากรายละเอียดดังนี้ (สูตร น้ำหมักชีวภาพ สำหรับการผลิตผักระบบไฮโดรโปนิกส์ โดย รศ. ดนัย วรรณวนิช) น้ำสกัดชีวภาพนมสด ส่วนผสม : นมสด 30 กก. กากน้ำตาล 5 กก. หัวเชื้อจุลินทรีย์ 10 ลิตร น้ำ 40 ลิตร วิธีทำ : 1.นำส่วนผสมทั้งหมดเทผสมกัน 2.หมักในภาชนะที่มีฝาปิดทิ้งไว้เป็นเวลา 30-45วัน 3.จะได้นำสกัดชีวภาพที่มีสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอมของนม น้ำสกัดชีวภาพดินระเบิด ส่วนผสม : หัวเชื้อปุ๋ยหมัก พด.1 1ถุง รำละเอียด 1 กก. น้ำตาลทรายแดง 1 กก. น้ำ 1-2 แก้ว ผ้าฝ้าย 1 ผืน […]

Read more

การป้องกันโรคของผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา

ป้องกันโรคของผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา

การป้องกันโรคของผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา–เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราปฏิปักษ์ของเชื้อราโรคพืช ช่วยยังยั้งการเจริญเติบโต ยับยั้งการขยายพันธุ์ ด้วยกลไก 3 ประการ คือ การทำลายโดยตรง การแก่งแย่งที่อยู่อาศัย และสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต การสร้างสารปฏิชีวนะที่เป็นอันตรายต่อเชื้อโรคชนิดอื่น นอกจากนี้ การป้องกันโรคของผักไฮโดรโปนิกส์ ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มายังช่วยกระตุ้นให้ผักไฮโดรโปนิกส์สร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคพืช กระตุ้นให้รากผักเจริญเติบโตดีขึ้น ทำให้รากยาวและแข็งแรง และเมื่ออยู่ในดินจะสร้างสารที่ไปละลายธาตุอาหารในเม็ดหิน และดิน ให้ละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อผักไฮโดรโปนิกส์ เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดินทั่วไป มีหลายชนิด หลายสายพันธุ์ ที่ผ่านมาได้มีการศึกษาและคัดเลือกสายพันธุ์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมโรคพืช โดยมุ่งเน้นไปที่เชื้อราโรคพืชที่เกิดจากดิน พบว่าสามารถควบคุมเชื้อราโรคพืชได้ดีหลายชนิด เช่น เชื้อไฟทอบธอร่า, พิเทียม, ฟิวซาเรียม, สเครอโรเทียม, ไรช็อคโทเนีย เป็นต้น ซึ่งเชื้อราเหล่านี้เป็นสาเหตุของโรคพืชต่างๆ ได้แก่ โรครากเน่าโคนเน่า โรคผลเน่า โรคกล้าเน่าหรือกล้ายุบ โรคเน่าระดับดิน โรคเหี่ยวในพืชตระกูลพริก โรคถอดฝักดาบของข้าว เป็นต้น ปัจจุบันพบว่า นอกจากจะเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราโรคพืชที่อยู่ในดินแล้ว ยังสามารถใช้ในการป้องกันกำจัดเชื้อราโรคพืชในส่วนต่างๆ ของพืชที่อยู่เหนือดินได้ดีเช่นกัน เช่น โรคไหม้ในข้าว โรคแอนแทรกโนสในพริก เป็นต้น และมีแนวโน้มที่จะมีผลไปกระตุ้นให้ผักไฮโดรโปนิกส์มีความต้านทานต่อเชื้อไวรัสโรคพืชได้อีกด้วย จึงนับว่าเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อการเกษตร การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา สำหรับการป้องกันโรคของผักไฮโดรโปนิกส์ ควรใช้ในช่วงเวลาที่แดดอ่อน เหมือนกับชีวภัณฑ์ชนิดอื่นๆ สามารถนำมาใช้ทั้งในด้านป้องกันและรักษาโรค โดยมีวิธีการใช้ […]

Read more

การแปรรูปเห็ดกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

แปรรูปเห็ดกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

การแปรรูปเห็ด การแปรรูปเห็ด นอกจากจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหารคาว อาหารหวาน เครื่องดื่ม ยารักษาโรคแล้ว ในภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์อาหาร หรือผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เห็ดก็ทำรายได้ได้ดีไม่แพ้กัน เห็ดกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การแปรรูปเห็ด ในรูปแบบผลิตภัณฑ์อาหาร แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ สำเร็จรูป เห็ดกระป๋อง เห็ดแห้ง เห็ดแช่แข็ง กึ่งสำเร็จรูป เห็ดดองเกลือ รูปแบบ การแปรรูปเห็ด 1. แช่แข็ง Freezing 2. กระป๋อง Sterilization 3. ทำแห้ง Drying 4. ดอง Pickle คุณสมบัติของดอกเห็ดที่ใช้ในการแปรรูป 1. ดอกเห็ดที่สมบูรณ์เนื้อของดอกเห็ดแน่น 2. ดอกเห็ดสะอาดไม่มีเศษวัสดุอื่นปลอมปน 3. ดอกเห็ดไม่ถูกทำลายโดยแมลงและโรค การทำลายความหนาแน่นของจุลินทรีย์และน้ำย่อย 1. นำเห็ดที่ต้องการมาล้างในน้ำที่สะอาดเอาเศษวัสดุต่างๆที่อาจติดมากับดอกเห็ดออก 2. นำเห็ดมาลวกหรือนึ่งในน้ำร้อนอุณหภูมิ 85 – 90 องศาเซลเซียสซึ่งปกติจะใช่วิธีนึ่งเพราะจะทำให้สูญเสียคุณภาพทางอาหารน้อยกว่าและทำได้ในปริมาณที่มากกว่า ส่วนน้ำที่ใช้ต้มทั้งลวกโดยตรง หรือแบบนึ่งควรเติมกรดที่ช่วยลดปฏิบัติการใช้ออกซิเจนของเซล เช่น กรดน้ำมะนาว หรือกรด วิตามินซี […]

Read more

ประโยชน์ของเห็ดและคุณสมบัติอื่นๆ ของเห็ด

ประโยชน์ของเห็ด

รูปจาก : ภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์  สำนักบริหารวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา ประโยชน์ของเห็ด และคุณสมบัติอื่นๆ ของเห็ด ประโยชน์ของเห็ด ที่ถูกนำมาใช้นั้น ผู้บริโภคจะได้รับเต็มที่หรือไม่เต็มที่ ขึ้นอยู่กับวิธีที่นำมาใช้ เช่น การปรุงอาหาร เห็ดแต่ละชนิดมีวิธีรับประทานให้ได้ผลตามสรรพคุณต่างกัน บางชนิดอาจถูกลดสรรพคุณลงด้วยความร้อน ส่วนการนำมาสกัดเป็นยา ก็ต้องทำให้ถูกวิธีเช่นกัน ซึ่งนอกจากข้อมูลในบทความนี้แล้ว ผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลได้ในบทความ การเพาะเห็ดถั่งเช่า เห็ดเป็นยา ราคาแพง, เห็ดเป็นยา, การแปรรูปเห็ด แล้วเราก็จะได้นำเห็ดมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง และถูกวิธี ส่วนใหญ่เรามักจะคิดกันว่า ประโยชน์ของเห็ด คือใช้เป็นอาหาร และยา แต่เห็ดมีคุณสมบัติอื่นๆ มากกว่านั้น และจะว่าไปแล้ว เห็ดที่เคยถูกจัดให้เป็นเพียงพืชชั้นต่ำนั้น กลับเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดีมากทีเดียว…คุณเคยทราบมาก่อนหรือไม่ ว่าเห็ด อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ยังไง?–อ่านต่อนะคะ จะได้ทราบว่า เห็ดที่รูปร่างหน้าตาน่ารัก น่ากิน มีคุณประโยชน์ที่น่ารักอะไรอย่างอื่นอีก? คุณสมบัติอื่นๆ ของเห็ด เห็ดช่วยอนุรักษ์ และรักษาสิ่งแวดล้อม โดยใช้เพื่อการบำบัดสารมลพิษทางชีวภาพ และ การขจัดสารปนเปื้อนด้วยเห็ด: เห็ดถูกนำมาใช้ในวิธีการทางพันธุวิศวกรรมเพื่อกำจัดของเสีย เป็นรูปแบบการบำบัดสารมลพิษทางชีวภาพในการขจัดสารปนเปื้อน ลดมลพิษ และจุลินทรีย์ รวมทั้งกรองพิษในน้ำและในดิน เห็ด ช่วยในการฟื้นฟูทางระบบนิเวศ เห็ดช่วยทำความสะอาดดินและน้ำที่ปนเปื้อน กำจัดของเสียจากครัวเรือน ใช้เห็ดต่างๆ ดักจับสิ่งปฏิกูลในน้ำ […]

Read more

สูตรการแปรรูปเห็ดและผลิตภัณฑ์เห็ด

  สูตรการแปรรูปเห็ด  และผลิตภัณฑ์เห็ด ด้วยความหลากหลายของสายพันธุ์เห็ด และคุณประโยชน์ที่มีมากมาย ทำให้เห็ดได้รับความนิยมนำมาบริโภคกันมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งในรูปแบบการรับประทานสด ปรุงสุก และผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปต่างๆ สูตรการแปรรูปเห็ด ที่นำเสนอเหล่านี้ ผู้เขียนได้พยายามสืบค้นและรวบรวม สูตรการแปรรูปเห็ด  ซึ่งมีอยุ่มากมายและมีความแตกต่างกัน–พูดง่ายๆ ว่าแล้วแต่รสนิยมของเจ้าของสูตร และขอขอบคุณทุกๆ สูตรการแปรรูปเห็ด ที่ได้รวบรวมมาไว้ในบล็อคเพื่อเป็นประโยชน์ให้มากที่สุด สามารถนำไปดัดแปลงให้ถูกปาก ได้รสชาติตามความต้องการของผู้อ่าน หรือถ้าหากจะยังประโยชน์ให้ไปต่อยอดทางธุรกิจได้ก็ยิ่งดี ผลิตภัณฑ์อาหารคาว เห็ดฟางดอง เห็ดตระกูลนางรมในน้ำเกลือบรรจุในขวดแก้ว เห็ดดองน้ำมันพืช เห็ดดองน้ำปลา เห็ดสวรรค์      ลูกชิ้นเห็ดหอม แหนมเห็ด แหนมเห็ดโคนญี่ปุ่น น้ำพริกเผาเห็ดหอม น้ำพริกเห็ด น้ำพริกนรกเห็ด น้ำพริกหนุ่ม      น้ำพริกเห็ดอบสมุนไพร น้ำพริกตาแดงเห็ด น้ำพริกอ่องเห็ดหอมเจ น้ำพริกป่นเห็ดหอมเจ ข้าวเกรียบเห็ดดิบ ข้าวเกรียบเห็ด หมูยอเห็ด ไส้อั่วเห็ด กุนเชียงเห็ดหอม เห็ดจ๊อ บอลเห็ด ไส้กรอกเห็ดนางฟ้าทอดมันเห็ดนางฟ้า เห็ดนางฟ้าสามรส เห็ดนางฟ้าแดดเดียว เห็ดหยอง เห็ดเค็มป่น เห็ดแผ่น เห็ดกรอบสมุนไพร เห็ดแห้ง เห็ดหลินจืออบแห้ง เห็ดผง ซอสเห็ด […]

Read more
1 2