ความเป็นมาของการทำนาโยน

ความเป็นมาทำนาโยน

ประวัติความเป็นมาของการทำนาโยน ตั้งแต่อดีตมานั้น คนส่วนมากจะรู้จักวิธีการปลูกข้าว แบบทำนาดำ และนาหว่าน ซึ่งการทำนาแบบทั้งสองวิธีนั้น มีข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันออกไป โดยนาดำนั้นมีข้อดี คือ ระยะห่างของต้นข้าวนั้นจะพอดีไม่เบียดกัน ทำให้ต้นข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ดี แต่มีข้อเสียคือต้องใช้เวลานานในการปักดำต้นข้าว ส่วนนาหว่านนั้นใช้เวลาที่น้อยกว่าและได้ปริมาณต้นข้าวที่มากกว่าด้วยการหว่านเมล็ด แต่มีข้อเสียคือในขณะที่รอต้นข้าวเติบโตนั้นก็จะเสียเมล็ดไปกับการมาจิกกินของนก และหากฝนตกในวันที่หว่านแล้วเมล็ดข้าวก็จะลอยหายไปกับน้ำ แต่ด้วยประเทศไทยเรานั้นเป็นประเทศที่อุดมด้วยภูมิปัญญาในเรื่องการเกษตร จึงได้มีการปรับปรุงวิธีการปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลลิตที่ดีออกมา ซึ่งการทำ “นาโยน” ก็ได้เป็นอีกหนึ่งวิธีใหม่ในการทำนาในยุคปัจจุบัน ซึ่งข้อดีของการทำนาโยนคือ การประหยัดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ต้องสูญเสียไปกับน้ำ ระยะห่างของต้นข้าวที่มีมากกว่าก็ทำให้ข้าวสามารถแตกกอได้ดีกว่า และการเติบโตของต้นกล้าข้าวที่โยนลงไปก็ไม่หยุดชะงักเหมือนนาดำที่ต้องปักต้นกล้า อีกทั้งยังใช้ต้นทุนและแรงงานน้อยกว่า การทำนาโยน เป็นการทำนารูปแบบใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อควบคุมข้าววัชพืชและพืชทั่วไป โดยจากการศึกษาและปฏิบัติในการปลูกข้าวอินทรีย์ที่ศูนย์บริการวิชาการเกษตรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของมูลนิธิชัยพัฒนา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ในปี 2545 ถึง 2548 และเปรียบเทียบกับต้นทุนการผลิต พบว่าต้นทุนการทำนาแบบโยนกล้าเพื่อควบคุมข้าววัชพืชและวัชพืชทั่วไป มีต้นทุนต่ำที่สุดและยังให้ผลผลิตสูงกว่าการทำนาด้วยวิธีอื่นๆ จากการศึกษาพบว่า อายุต้นกล้า 12-16 วัน และจำนวนต้นกล้า 50-60 ถาด มีความเหมาะสมมากที่สุด สามารถป้องกันและควบคุมข้าววัชพืชได้ดีมาก ใช้แรงงานเตรียมดินเพาะกล้า 150-200 ถาด/คน/วัน ใช้แรงงานโยนกล้า 3-5 ไร่/คน/วัน ที่สำคัญคือใช้เมล็ดเพียง 3-4 กิโลกรัม/ไร่ ประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้ 80-85% […]

Read more

มาเลี้ยงปลาในนาข้าวกัน ดีทั้งปลา ดีทั้งนาข้าว

เลี้ยงปลาในนาข้าว

การเลี้ยงปลาในนาข้าว ส่งผลดีกับทั้งปลา ส่งผลดีกับทั้งนาข้าว เลี้ยงปลาในนาข้าว พอปลาโต ข้าวผลผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อให้อาหารปลา พอปลาขับถ่ายก็เป็นการช่วยเพิ่มแร่ธาตุ อาหารในน้ำ ข้าวก็ได้ปุ๋ยไปด้วยทำให้เจริญเติบโตได้ดี และปลายังช่วยกำจัดวัชพืชและแมลง ถ้าข้าวในแปลงนาเก็บเกี่ยวตกหล่นก็ยังใช้เป็นอาหารปลาได้อีก ช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงปลา ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งปลา ได้ประโยชน์ทั้งข้าว ดั่งสุภาษิตไทยที่ว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ซึ่งเกษตรกรควรที่จะให้ความสนใจอย่างยิ่ง เลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงปลาในนาข้าวนั้นนับว่าอีกเป็นอาชีพหลักเพิ่มอย่างหนึ่งของเกษตรกรชาวนา การปรับปรุงวิธีการเลี้ยงได้ถูกพัฒนาตามหลักสากลนิยมเรื่อยมา เพื่อให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอต่อการนำมาบริโภคภายในครอบครัวอีกทั้งยังเหลือมาจำหน่ายต่อได้อีกด้วย การเลี้ยงปลาในนาข้าวนั้นก็ต้องมีการใส่ใจ ดูแล ปลาอีกเช่นกัน ทั้งจาก ฝนฟ้าอากาศ อาหารการกิน โรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนสัตว์อื่นที่มาทำลาย ผู้เลี้ยงจึงควรเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้ปลานั้นเจริญเติบโตและมีปริมาณมาก ขณะเดียวกันความขยันอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องมีการศึกษาหาประสบการณ์เพิ่ม สุดท้ายคือการเฝ้าสังเกตความเป็นไปอย่างต่อเนื่องจึงจะบรรลุเป้าหมาย หมายเหตุ การเลี้ยงปลาในนาข้าว จะกระทำได้ เฉพาะในท้องที่ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ มีการชลประทาน มีน้ำตลอดปี ซึ่งพอเพียงสำหรับการเจริญเติบโตของปลา พอที่จะใช้เป็นอาหารได้ ขั้นตอนการเลี้ยงปลาในนาข้าว 1. เตรียมแปลงนาสำหรับเลี้ยงปลา ควรขุดคูรอบแปลงนา ให้มีความกว้าง 0.5 ถึง 1.5 เมตร และลึก 0.25 ถึง 0.4 เมตร นำดินจากคูดังกล่าวขึ้นไปเสริมคันให้สูง และกว้างตามปริมาณของดินที่ขุดขึ้น […]

Read more

การทำนาโยน ช่วยประหยัดปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าว

อ่าน: ประวัติความเป็นมาของการทำนาโยน การทำนาโยน   การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการทำนาโยน 1.เมล็ดพันธุ์ข้าว 2.ถาดเพาะกล้านาโยน 3.ที่โรยเมล็ดและดิน 4.สแลนสำหรับพรางแสง 5.เกรียงปาดดิน ขั้นตอนการทำนาแบบโยนกล้า เตรียมถาดเพาะกล้าพันธุ์ 1. ย่อยดินที่แห้งให้ละเอียด โดยให้เม็ดดินที่ย่อยมีขนาดไม่เกิน 0.5 เซนติเมตร โดยประมาณ ดินนั้นต้องไม่มีเมล็ดข้าวและวัชพืชปนอยู่ด้วย 2. วางเรียงถาดเพาะกล้านาโยนสำหรับใส่เมล็ดพันธุ์เป็นแถวตอนยาว 3. หว่านดินที่ย่อยไว้แล้วลงไปในหลุมถาดเพาะกล้า ประมาณ 50% ของหลุม 4. หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวในอัตราประมาณ 3 ถึง 4 กิโลกรัม ต่อ 50 ถึง 60 ถาด (ต่อไร่) 5. หว่านดินตามลงไปใช้เกรียงปาดดินให้เต็มเสมอปากหลุมพอดี ระวังอย่าให้ดินล้นปากหลุม เพราะจะทำให้รากข้าวพันกันเวลาโยนต้นกล้า มันจะไม่กระจายตัว 6. เตรียมหน้างาน หรือลานแปลง สำหรับวางแผงถาดเพาะกล้า ให้เสร็จเรียบร้อย 7. วางแผงถาดเพาะกล้าลงบนหน้างาน หรือลานแปลง 8. ให้น้ำแล้วนำสแลนมาคลุม จะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทั้งเช้า กลางวัน เย็น (ถ้าหากฝนไม่ตก) โดยจะต้องรดทุกวันจนกว่าข้าวจะขึ้นและยาวพอที่จะได้เวลาหว่าน โดยจะต้องหยุดให้น้ำก่อนวันที่นำไปหว่านประมาณ 2 […]

Read more

ขยายพันธุ์มะนาวด้วยใบ แก้ปัญหาในยุคมะนาวแพง

ขยายพันธุ์มะนาว

สมัยนี้ต่างก็ได้ยินคนบ่นกันว่ามะนาวแพง ส่วนสาเหตุที่ว่าทำไมถึงแพงขึ้น ก็เพราะว่าสมัยนี้กว่าจะได้มะนาวสักลูกนั้น ชาวสวน หรือผู้ที่ปลูกมะนาวก็ต้องเจอกับ ทั้งหนอน ทั้งโรค ทั้งเชื้อรา ไหนจะฝนฟ้าที่ตกมาในช่วงที่ต้องการให้ออกดอก ออกผล จนกระทั้งกำหนดการหรือเป้าหมายที่วางไว้ต้องคลาดเคลื่อนไปนั้นมันยุ่งยากและซับซ้อนจนหลายคนยอมแพ้ทิ้งสวนมะนาวไปทำงานจ้างก็หลายรายอยู่ และกว่าจะเก็บเกี่ยวได้ก็ต้องใช้เวลานานตั้ง 5 ถึง 6 เดือนกันเลยทีเดียว แต่กระนั้นมะนาวก็เป็นพืชเศรษฐกิจอีกอย่างที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันมีความต้องการมะนาวสูงมาก แทบขาดกันไม่ได้ หากใครที่สนใจอยากจะปลูกมะนาวขายบ้าง หรือลองปลูกไว้กินเองที่บ้าน ลองอ่านศึกษาดูได้จากบทความนี้เลยครับ วิธีการ “การขยายพันธุ์มะนาวด้วยใบ” โดยตามแบบฉบับของ ครูติ่ง ซึ่งสามารถขยายพันธุ์มะนาวได้ทีละมากๆด้วย โดยวิธีการขยายพันธุ์มะนาวด้วยใบ โดย ครูติ่ง นั้นมีขั้นตอนการทำดังนี้ 1. นำกาบมะพร้าวตัดเป็นท่อนยาวราว 2.5-3 ซม. นำไปแช่น้ำไว้จนชุ่ม เอาค้อนทุบจนกาบมะพร้าวแตกนุ่มขึ้น เพื่อง่ายต่อการห่อให้กลม 2. เมื่อได้กาบมะพร้าวที่นุ่มแล้ว นำมาห่อม้วนเป็นทรงกลม รัดหนังยางหัวท้าย แล้วนำตะปูทิ่มลงไปบริเวณด้านบนของกาบมะพร้าวให้เป็นรู เพื่อลดการเสียดสีเวลานำใบเสียบลงไป 3. ตัดใบให้มีก้านด้านบนใบเล็กน้อย ส่วนด้านล่างก้านใบให้ยาวเกือบถึงชั้นที่อยู่ด้านล่างถัดไป หรือยาวประมาณ 1-1.5 ซม. 4. ตัดใบออกครึ่งหนึ่ง เพื่อลดการคายน้ำ 5. เปิดกรีดเปลือกหุ้มก้านด้านของใบ หรือเปิดแผลตามความยาวของก้าน เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการออกราก 1-3 หน้า หากไม่ทำเช่นนี้รากจะออกเฉพาะที่ปลายลอยตัดเท่านั้น […]

Read more

ปลูกลิ้นจี่อย่างไร ให้ลดต้นทุน ผลผลิตเพิ่มขึ้น

ปลูกลิ้นจี่

เทคนิคการปลูกลิ้นจี่ ให้ลดต้นทุน แต่ผลผลิตเพิ่มขึ้น หากเดิมมีการปลูกลิ้นจี่ไว้อยู่แล้ว แต่ว่าให้ผลผลิตน้อย มีราคา หรือคุณภาพไม่ค่อยดี ให้ใช้วิธีการปลูกเพิ่มเข้าไปตามเทคนิคในบทความนี้ โดยยังไม่ต้องตัดต้นลิ้นจี่เก่าทิ้งรอจนกว่าต้นใหม่จะเจริญเติบโตจนสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก่อน แล้วค่อยตัดหรือโค่นต้นลิ้นจี่เก่าทิ้งนะครับ 🙂 แต่ถ้าเพิ่งหันมาสนใจปลูกลิ้นจี่ หรือเริ่มทำสวนลิ้นจี่ ก็มาเริ่มอ่านวิธีการปลูกได้เลยครับ การปลูกลิ้นจี่ ควรจะปลูกในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม โดยปัจจัยที่มีผลต่อการปลูกลิ้นจี่เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีดังนี้ 1. ดิน ดินที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของลิ้นจี่ ควรเป็นดินที่มีหน้าดินลึก มีอินทรียวัตถุมาก ได้แก่ ดินร่วน ดินร่วนปนทราย มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ถึงเป็นกลาง คือ มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ระหว่าง 5-6 และต้องมีการระบายน้ำ ดีและควรมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 400 เมตรโดยเฉพาะพันธุ์ฮงฮวย โอวเฮียะ กิมเจ็ง และ พันธุ์จักรพรรดิ 2. อากาศ อากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและออกดอกติดผลของลิ้นจี่ควรมีอากาศเย็นในฤดูหนาว และไม่มีอากาศร้อนจัดคืออุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส และในช่วงก่อนดอกต้องการอุณหภูมิต่ำ กว่า 15 องศาเซลเซียส ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง หรือต่ำ กว่า 10 องศาเซลเซียส ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมงเมื่อติดผลแล้วอุณหภูมิจะสูงขึ้นก็ไม่เป็นไร […]

Read more

การสร้างเรือนเพาะชำ ดูแลต้นอ่อน ไม้ดอกต่างๆ

การสร้างเรือนเพาะชำ

การสร้างเรือนเพาะชำ ในการเพาะปลูกต้นไม้ เราจำเป็นต้องมีการทำ เรือนเพาะชำ สำหรับเหล่าบรรดาไม้อ่อน ต้นกล้าทั้งหลาย รวมทั้งพวกไม้พุ่ม และไม้ดอกไม้ประดับต่างๆ เรือนเพาะชำ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะช่วยดูแลรักษาต้นไม้ของเรา เพราะว่าไม้แต่ละชนิดมาจากหลายที่ต่างๆ ทั่วโลก มีความต้องการน้ำ อุณหภูมิ และแสงแดด ที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้ต้นไม้เหล่านั้น ต้องการ การดูแล เอาใจใส่ รักษา ทั้งจากฝนฟ้าอากาศ หรือแม้กระทั่งแสงแดด เพราะสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้ต้นไม้ของเรานั้นเกิดความเสียหาย หรือหยุดการเจริญเติบโตไปเลยก็เป็นได้ และเมื่อเรามีเรือนเพาะชำแล้ว การจัดการดูแลรักษาก็จะง่ายดายขึ้น และดูมีระเบียบเรียบร้อย อีกทั้งยังช่วยป้องกัน หรือลดปัญหาจากฝนฟ้าอากาศ และแสงแดดได้ ส่งผลให้พืชพรรณไม้ที่ปลูกนั้นมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ล้มตายไปก่อน แถมยังช่วยป้องกันภัยจากเหล่าแมลงศัตรูพืชและสัตว์นักทำลายได้เป็นอย่างดี การเตรียมการสำหรับการสร้างเรือนเพาะชำ พื่นที่ที่เหมาะสมสำหรับการสร้างเรือนเพาะชำ ควรจะเลือกพื้นที่สร้างเรือนเพาะชำที่ดี โดยควรเลือกพื้นที่สร้างเรือนเพาะชำที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ และมีปริมาณที่เพียงพอทั้งปี พื้นที่ที่มีความลดชันประมาณ 1 – 2% เพื่อการระบายน้ำดี พื้นที่ควรสูงกว่าระดับน้ำของแม่น้ำหรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติอื่นๆ เพื่อจะทำให้น้ำไม่ท่วมในฤดูฝน สภาพดินในพื้นที่ที่สร้างเรือนเพาะชำควรเป็นดินร่วนปนทรายเพราะมีการระบายน้ำดีและเตรียมกล้าไม้ได้ด้วย ควรมีภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นกล้า เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณแสงแดดที่เพียงพอ ควรสำรวจคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำที่จะนำมาใช้ ถ้าเป็นน้ำกร่อย จะทำให้ต้นกล้าเจริญเติบโตไม่ดีหรือตายได้ ขนาดเรือนเพาะชำ ขนาดของเรือนเพาะชำขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและความต้องการของเจ้าของ เช่น 6-7 […]

Read more

โรงเรือนเพาะชำ สิ่งที่จำเป็นในการดูแลรักษาต้นไม้

โรงเรือนเพาะชำ

เรือนเพาะชำ คือ อะไร? เรือนเพาะชำ คือ สถานที่ที่ใช้เพื่อดูแลรักษาบรรดาเหล่าต้นกล้าต้นอ่อน กิ่งตอนกิ่งชำ ของพวกไม้ผลและไม้ยืนต้น รวมทั้งไม้พุ่มและไม้ดอกไม้ประดับต่างๆ ที่จะต้องปลูกเพาะขยายพันธุ์และต้องมีการดูแลรักษาเป็นพิเศษในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติที่มีการผันแปรของแสงแดด อุณหภูมิ ลม และปริมาณฝนที่ไม่สม่ำเสมอ และนอกจากนี้เรือนเพาะชำยังมีประโยชน์ต่อการปลูกพืชอีกหลายประการ เช่น เป็นสถานที่เพาะเมล็ดและปักชำ และเพาะเลี้ยงไม้อ่อน เป็นสถานที่สำหรับเลี้ยงพันธุ์ไม้ที่ต้องการความชื้นสูง แต่ต้องการแสงแดดแต่พอควร เป็นที่เก็บรักษาพันธุ์ไม้ให้ปลอดภัยจากสัตว์นักทำลาย และเหล่าศัตรูพืช เป็นที่รวมพันธุ์ไม้ และพักฟื้นพันธุ์ไม้ที่นำมาใหม่ เป็นที่เก็บเมล็ดพันธุ์ เครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตร หรือจัดเป็นที่โชว์สินค้า พืช พรรณไม้ ต่างๆ ลักษณะเรือนเพาะชำที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืชแบบต่างๆ ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ มีการผันแปรของแสงแดด อุณหภูมิ ลม และปริมาณฝนที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้การเลี้ยงดูพืชให้มีการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ จึงเป็นไปได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชิ้นส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาส่วนต่างๆ ขึ้นมาเป็นต้นใหม่ หรือต้นใหม่ที่ยังไม่แข็งแรงสมบูรณ์ดี จำเป็นต้องได้รับการดูแลภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด ดังนั้นเรือนเพาะชำจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการขยายพันธุ์พืชเป็นอย่างมาก โรงเรือนเพาะชำนั้นมีหลายแบบทั้งแบบที่สามารถควบคุมปัจจัยดังกล่าวได้ทุกอย่าง เช่น การปรับอุณหภูมิภายในโรงเรือน มีหลอดไฟให้แสงสว่างและควบคุมความชื้นสัมพัทธ์อากาศได้ สำหรับการเพาะพันธุ์ต้นที่ต้องการสภาพแวดล้อมเฉพาะอย่าง ส่วนเรือนเพาะชำอีกแบบหนึ่งใช้สำหรับเลี้ยงดูต้นที่มีอายุน้อย และยังไม่แข็งแรงดีให้สามารถเจริญเติบโตได้ต่อไป มีการปรับสภาพแวดล้อมได้บ้าง จึงอาจมีเพียงแค่การกรองแสงหรือพรางแสงให้ต้นกล้าเพื่อรอไว้ย้ายปลูกในแปลงกลางแจ้งต่อไป ลักษณะโรงเรือนเพาะชำแบบ Hotbeds เป็นโครงสร้างขนาดเล็กและเตี้ย สามารถใช้งานได้คล้ายโรงกระจกที่ไม่ต้องการลงทุนมาก เหมาะสำหรับการเพาะเมล็ดและชำกิ่งในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น มีโครงสร้างที่มีฝาลาดเอียงแต่ปิดได้สนิท มีท่อนำความร้อนวางผ่านใต้ชั้นวัสดุชำที่อยู่ภายในโครงสร้างนี้ ใช้สำหรับงานขยายพันธุ์จำนวนไม่มากนัก […]

Read more

รีวิว: อุปกรณ์การเกษตร การใช้งาน สแลนกรองแสง ตาข่ายกรองแสง

รีวิวสแลนกรองแสง

รีวิว อุปกรณ์การเกษตร สแลน สแลนกันแดด สแลนบังแดด สแลนกรองแสง ตาข่ายกรองแสง คุณสมบัติเบื้องต้นของตาข่ายกรองแสง: ผลิตจากวัสดุสารสังเคราะห์โพลีเอทธีลีนที่ความหนาแน่นสูง มีส่วนผสมของสารป้องกันแสงอัลตร้าไวโอเล็ต มีความเหนียวและทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน ตาข่ายกรองแสงจะมีลักษณะของการทอว่าทอแบบกี่เข็ม เช่น ทอแบบ 1 เข็ม, ทอแบบ 2 เข็ม, ทอแบบ 3 เข็ม เป็นต้น ยิ่งเข็มเยอะก็ยิ่งมีความเหนียวและทนทานมากยิ่งขึ้นนั่นเองครับ สแลนแบบ 1 เข็ม สแลนแบบ 2 เข็ม สแลนแบบ 3 เข็ม ประเภททอแบบ 1 เข็ม ยี่ห้อม้าบิน และ ยี่ห้อช้างบิน มีสีเขียวและสีดำ ขนาดแบบม้วน 2×100 เมตร ขนาดแบบผืน 2×3, 2×5, 2×10, 2×15 และ 2×20 เมตร เปอร์เซ็นต์ของการกรองแสง 50%,60%,70% และ 80% ประเภททอแบบ 2 เข็ม ยี่ห้อ […]

Read more