โพสต์ใหม่ล่าสุด

กล้วยไม้

กล้วยไม้ เป็นไม้ดอกที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างดี ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ และให้ประโยชน์กับวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน ไม่เพียงได้ประโยชน์ทางสายตา จากสีสันและความสวยงามของกล้วยไม้เท่านั้น ประโยชน์ของกล้วยไม้ กล้วยไม้กับชีวิตประจำวัน ใช้ประดับตกแต่ง อาคาร สถานที่ ให้สวยงาม หรูหรา ใช้ไหว้พระ หรือใช้ในการทำบุญตักบาตร เพื่อแสดงความเคารพ ศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา ใช้เป็นสารปรุงแต่งรส และกลิ่นอาหาร ของหวาน เครื่องดื่ม ใช้ทำสารสกัดเป็นส่วนผสมของยา ใช้ทำสารสกัดทำเครื่องหอม กล้วยไม้กับศาสตร์ความเชื่อ ความศรัทธา […]

โรคและแมลงศัตรูชมพู่

โรคและแมลงศัตรูชมพู่ พบได้ไม่บ่อยนัก ส่วนใหญจะพบว่า โรคและแมลงศัตรูชมพู่ มีเพียงโรคแอนแทรคโนส โรครากเน่า แมลงวันผลไม้ และหนอนกระทู้หอม เข้ามารบกวนและทำลายชมพู่ ในบางครั้ง ถึงแม้เกษตรกรหรือผู้ปลูกชมพู่ จะปฏิบัติและดูแลรักษาชมพู่เป็นอย่างดีแล้วก็อาจพบการระบาดได้ ก็ควรรีบกำจัดในทันที เพื่อป้องกันความเสียหายหรือการทำลายในขั้นรุนแรง จนต้นชมพู่ตายได้ในที่สุด ดังนั้น เกษตรกรหรือผู้ปลูกควรศึกษาลักษณะอาการ การป้องกันและกำจัด โรคและแมลงศัตรูชมพู่ แล้วนำไปปฏิบัติ โรคชมพู่ โรคแอนแทรคโนส เป็นโรคชมพู่ที่สำคัญที่สุด และพบบ่อยที่สุด คือ […]

การปลูกชมพู่

การปลูกชมพู่ ที่ผู้เขียนกล่าวไว้ในบทความ ‘ชมพู่’ ไว้ว่า จะมาเฉลยในบทความนี้ว่า ทำไมจึงอยากเชิญชวนให้ผู้อ่านปลูกชมพู่? ด้วยจุดเด่นที่ทำให้ชมพู่ก้าวเข้ามาเป็นไม้ผลเชิงการค้าของประเทศไทยค่ะ ที่ทำให้ชมพู่ น่าปลูก ชมพู่ มีจุดเด่นดังนี้ เป็นไม้ผลที่ปลูกง่ายในทุกพื้นที่ของประเทศไทย และดูแลรักษาง่าย ไม่ค่อยมีปัญหาในการปลูก บางพันธุ์ทนน้ำท่วมขังได้ดี บางพันธุ์ทนแล้งได้ดี และบางพันธุ์ทนอากาศหนาวเย็นได้ดี และมีโรคและแมลงรบกวนน้อยกว่าไม้ผลเชิงการค้าชนิดอื่น เป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตและให้ผลผลิตเร็ว ออกดอกและติดผลได้ง่าย อายุการเก็บเกี่ยวผลสั้น ให้ผลผลิตหลายชุดต่อปี เป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายและหลายวิธี มีหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือกปลูก เป็นไม้ผลอายุยืน […]

ชมพู่

ชมพู่ ผลไม้ที่มีรสหวานอร่อย ฉ่ำน้ำ รับประทานง่าย เป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งในตลาดผลไม้ประเทศไทยมาเป็นเวลานาน บางสายพันธุ์มีราคาแพง เช่น ชมพู่ทับทิมจันทร์ ที่เป็นไม้ผลทำเงิน จนเกิดเกษตรกรเงินล้านขึ้นมาหลายราย บางสายพันธุ์มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน เช่น ชมพู่มะเหมี่ยว ผู้เขียนจะขออุบเหตุผลที่อยากชักชวนท่านผู้อ่านปลูกชมพู่ไว้ก่อนค่ะ ( ถ้าอยากทราบ ติดตามบทความ ‘การปลูกชมพู่’ นะคะ ) ในอดีต คนไทยนิยมปลูกชมพู่ไว้เป็นไม้ผลกินได้ที่ให้ร่มเงาในบริเวณบ้าน แต่เมื่อชมพู่เพชรบุรีเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นจึงมีเกษตรกรปลูกชมพู่เป็นการค้าเพิ่มขึ้นมาก ชมพู่หลายชนิดมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย แล้วค่อยแพร่กระจายเข้าสู่ประเทศในเขตร้อนชื้น […]

การดูแลชมพู่หลังการปลูก

การดูแลชมพู่ หลังการปลูก มีหลายขั้นตอนและต้องให้ความเอาใจใส่เป็นอย่างดี ในขณะที่การปลูกชมพู่นั้นง่ายนิดเดียว อันที่จริงแล้ว ไม่ว่าจะปลูกอะไรก็ต้องใส่ใจดูแลเป็นประจำ แต่สำหรับชมพู่แล้ว ผู้เขียนเคยสงสัยว่าทำไมจึงมีราคาค่อนข้างสูง เมื่อได้รู้ถึงขั้นตอนการผลิต ก็รู้สึกได้ว่า ราคาค่าเหนื่อย ที่เทียบกับรสชาติที่อร่อยของชมพู่นั้น คุ้มค่าสมราคาจริงๆ ลองศึกษาขั้นตอนต่างๆ ดูนะคะ เพื่อนำไปปฏิบัติหรือปรับใช้ในการปลูกชมพู่ ขั้นตอนการดูแลชมพู่ การให้น้ำ การวางแผนและการจัดการระบบน้ำ เป็นหัวใจสำคัญของ การดูแลชมพู่ เพราะชมพู่เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก จึงจำเป็นต้องจัดเตรียมแหล่งน้ำให้พอเพียงกับความต้องการของพืชในการออกดอกติดผล โดยคำนึงถึงพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกเป็นหลัก ดังนี้ […]

การปลูกมะละกอ

การปลูกมะละกอ ง่ายเหมือนปอกกล้วย แล้วทำไมจึงต้องเรียนรู้ขั้นตอนการปลูก การดูแล และการป้องกันกำจัดโรคและแมลง? เพื่อการปลูกเชิงการค้าและมีปริมาณมาก จำเป็นต้องอาศัยขั้นตอนที่พิถีพิถัน เริ่มตั้งแต่การเลือกพื้นที่ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตมะละกอที่มีคุณภาพตามมาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะการส่งออก ขอเน้นย้ำอีกครั้งนะคะ ว่าต้องปลอดสารเคมีในทุกขั้นตอนหากคิดจะปลูกมะละกอเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ มาดูกันนะคะ ว่าจะแบบไหนที่เหมาะสำหรับ การปลูกมะละกอ? สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกมะละกอ พื้นที่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารต่างๆ ครบ ในสัดส่วนที่พอเหมาะ มะละกอสามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ตั้งแต่ดินเหนียวจนถึงดินทราย แต่ดินที่ดีที่สุดสำหรับมะละกอ […]

การขยายพันธุ์มะละกอ

การขยายพันธุ์มะละกอ สามารถปฏิบัติได้หลายวิธี ทั้งแบบใช้เพศ ได้แก่ การเพาะเมล็ด และแบบไม่ใช้เพศ ได้แก่ การปักชำ การติดตา การตอนกิ่ง และการเพาะเนื้อเยื่อ แต่เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีการขยายพันธุ์แบบใช้เพศในการปลูกมะละกอเพื่อการค้า เนื่องจากทำได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับผลผลิตที่จะได้รับ ส่วนขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศมักจะทำกันในกรณีที่ต้องการรักษาพันธุ์ดีเอาไว้ เนื่องจากการขยายพันธุ์แบบนี้จะทำให้มะละกอไม่มีการกลายพันธุ์ และเพื่อเปลี่ยนยอดมะละกอที่มีดอกตัวผู้มีจำนวนมากเกินไป ให้เป็นต้นตัวเมียหรือต้นสมบูรณ์เพศ มือใหม่หัดปลูกมะละกอจะต้องสงสัยเรื่องเพศของมะละกออย่างแน่นอน…มีคำอธิบายค่ะ มะละกอมีปัญหาในการปลูก คือ เพศของมะละกอ โดยสังเกตได้จากดอกซึ่งสามารถแบ่งตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ 3 […]

การเก็บเกี่ยวและการแปรรูปกาแฟ

การเก็บเกี่ยวและการแปรรูปกาแฟ เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปลูกกาแฟแล้วค่ะ การขนส่งและจัดจำหน่ายผลผลิตกาแฟนั้นเป็นเรื่องที่ง่าย แต่การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา และการแปรรูปผลผลิตต้องปฏิบัติด้วยวิธีที่ถูกต้องเพื่อรักษาคุณภาพผลผลิตให้คงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น หรือรสชาติก็ตาม ซึ่งอาจจะมีความยุ่งยากกว่าข้อปฏิบัติอื่นๆ ในการปลูกกาแฟ แต่อย่าลืมนะคะ ว่ากาแฟ เป็นผลผลิตที่มีราคาค่อนข้างสูง และขึ้นอยู่กับคุณภาพของผลผลิตด้วย การเก็บเกี่ยวกาแฟ กาแฟจะออกดอกหลังจากผ่านสภาวะความแห้งแล้งและผ่านความชุ่มชื้นจากฝนหรือการให้น้ำแล้ว หลังจากปลูกไปแล้วประมาณปีที่ 3 จากนั้นจะพัฒนากลายเป็นผลจนสุกสีแดง วิธีการเก็บเกี่ยว เก็บเฉพาะผลผลิตที่สุกสีแดงเท่านั้น ผลผลิตในหนึ่งช่อจะสุกไม่พร้อมกัน ผลกาแฟที่แก่แต่ไม่สุก เมื่อนำไปแปรรูปจะทำให้กาแฟที่ได้มีคุณภาพที่ไม่ดี ใช้วัสดุที่เป็นแผ่น […]

บวบ

บวบ ไม่ว่าจะเป็น บวบเหลี่ยม บวบหอม บวบงู เมื่อนำมาประกอบอาหารแล้ว ล้วนแต่ให้ความอร่อย บวบ ที่เรานิยมรับประทานมากที่สุด ก็เห็นจะเป็น บวบเหลี่ยม เพราะนอกจากจะรสชาติหวานอร่อยแล้ว ยังมีผลผลิตให้เราได้รับประทานกันตลอดทั้งปี บวบหอม ให้ผลผลิตเฉพาะฤดูฝน ส่วนบวบงู ให้ผลผลิตมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว     ลักษณะของบวบแต่ละสายพันธุ์ บวบเหลี่ยม พันธุ์นี้เป็นที่นิยมของผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย มีทั้งพันธุ์เบาผลเล็กสั้น ขนาดยาวไม่เกิน 12 […]

การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด

  การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด มีหลากหลายวิธีตามความสะดวกของเราที่จะนำมาใช้นะคะ แต่ก็ต้องใช้ให้ได้สัดส่วน และใช้ตามวิธีที่ผู้เขียนรวบรวมมาฝากกัน เนื่องจาก การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดและเป็นผลสำเร็จ สำหรับการเพาะปลูก เชื้อราไตรโคเดอร์มามีส่วนช่วยให้ได้ผลผลิตที่สูงและมีคุณภาพได้ในทุกขั้นตอน โดยไม่เกิดผลข้างเคียงที่ทำลายสุขภาพและสิ่งแวดล้อม แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้สารเคมีในการเพาะปลูกก็ควรใช้อย่างถูกวิธี ซึ่งสามารถติดตามได้ในบทความ ‘การใช้สารเคมีให้ถูกวิธี’ผู้เขียนอยากฝากไว้สักนิดนะคะว่า หลังจากที่ท่านผู้อ่านได้เรียนรู้ข้อมูล การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด ผู้เขียนอยากให้ทดลองผลิตเชื้อสดด้วย เพื่อลดต้นทุนการทำเกษตร….ลองดูนะคะ ขั้นตอน การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด การใช้เชื้อสดผสมกับรำข้าวละเอียดและปุ๋ยอินทรีย์ ใช้เชื้อสด 1 ส่วน รำข้าวละเอียด […]