หม่อน

หม่อน

หม่อน มีถิ่นกำเนิดแถบเทือกเขาหิมาลัยและทางตอนใต้ของประเทศจีน ในประเทศไทยสมัยก่อน ปลูกหม่อนกันมากทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมปลูกตามหมู่บ้านเพื่อใช้ใบเป็นอาหารเลี้ยงตัวไหม หรือที่เคยได้ยินกันว่า ‘ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม’ นั่นเองค่ะ เป็นพืชตระกูลเดียวกัน แต่บางสายพันธุ์เหมาะกับการใช้ใบเลี้ยงไหม ใช้เป็นอาหารสัตว์ปีกและสุกร ใช้ใบทำชา หรือรับประทานผลสด ปัจจุบัน คนไทยเริ่มนิยมรับประทานผลหม่อนสด โดยเฉพาะกลุ่มคนรักสุขภาพ ซึ่งผลสุกของหม่อนนั้นสามารถนำมารับประทานสดได้ มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว จึงทำให้การปลูกหม่อนมีเพิ่มขึ้นมากตามมา แต่หลายต่อหลายคน มักบ่นให้ได้ยินอยู่เสมอนะคะ ว่าหม่อนที่ปลูกไว้ไม่ค่อยออกลูก บ้างก็มีคำถามตามมาว่า…หรือเป็นที่อากาศ?… สำหรับท่านที่ยังไม่เคยปลูก หรือปลูกแล้วมีปัญหาดังกล่าว บทความนี้มีคำตอบให้ค่ะ อันที่จริง หม่อน เป็นพืชที่ปลูกง่าย ดูแลง่าย อายุยืนยาวได้ 80 ถึง 100 ปี ถ้าดูแลให้ดี การดูแลหม่อนให้ดี ก็ง่ายไม่ยุ่งยากเช่นกันค่ะ เพียงแค่ดูแลอย่างถูกวิธี ท่านก็จะมีหม่อนไว้รับประทานกันอย่างเต็มที่ แค่ปลูกไว้ 4 ต้น เป็นอย่างน้อย ก็จะมีรายได้เสริมเป็นกำลังใจได้ดี แต่ผู้เขียนอยากจะบอกไว้ก่อนว่า ไม่ว่าจะปลูกอะไร หรือทำอะไร เราควรทำความรู้จัก เรียนรู้ และทำความเข้าใจกับสิ่งนั้นให้ดีเสียก่อน แล้วเริ่มทดลองทำแต่น้อย เมื่อสำเร็จแล้วจึงขยายขนาด หรือเพิ่มปริมาณเพื่อไม่ให้การลงทุนสูญเปล่า เกริ่นมาเยอะแล้วค่ะ…..หม่อนอยากแนะนำตัวแล้ว….. คนไทยในภาคอีสานเรียกหม่อนว่า ‘มอน’ ส่วนภาษาจีนแต้จิ๋วเรียก ‘ซิวเอียะ’ ส่วนภาษาอังกฤษ หม่อนมีชื่อเรียกว่า […]

Read more

การดูแลหม่อนหลังการปลูก

การดูแลหม่อนหลังการปลูก

การดูแลหม่อนหลังการปลูก เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการปลูกหม่อนให้ได้ผลผลิตสูง การดูแลหม่อนหลังการปลูก ไม่ยากแต่ต้องรู้ใจหม่อน ถ้าเปรียบเทียบกับคน หม่อนจะเป็นคนที่เป็นระเบียบ ไม่ชอบอะไรที่รกรุงรัง เพราะฉะนั้น ต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งให้หม่อนบ่อยๆ เด็ดใบออก แล้วหม่อนก็จะผลิดอกออกผลให้เต็มต้น นอกจากนี้ การดูแลหม่อน ยังรวมไปถึงการให้น้ำ ให้ปุ๋ย กำจัดวัชพืช การดูแลเรื่องโรคและแมลงที่มารบกวนหม่อน ช่วงท้ายของบทความ ผู้เขียนมีเคล็ดลับดีๆ มาฝากด้วยนะคะ ติดตามเลยค่ะ ขั้นตอน การดูแลหม่อน การให้น้ำ ในฤดูแล้งควรให้น้ำแก่หม่อน เพื่อให้หม่อนใช้ในการเจริญเติบโต การให้น้ำสามารถใช้ปล่อยน้ำไหลเข้าไปในแถวของหม่อนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1ครั้งในฤดูแล้ง หรือรดน้ำพอชุ่มทุกวันในช่วงเช้า หม่อนในระยะที่หม่อนติดผลแล้ว ต้องให้น้ำกระตุ้นการแตกตาทุกวันในช่วงเช้า หากขาดน้ำจะทำให้ผลหม่อนฝ่อก่อนที่จะสุก หรือทำให้ผลหม่อนมีขนาดเล็ก ให้น้ำพอชุ่ม และจัดการการระบายน้ำอย่างให้ท่วมขัง ช่วยให้ดินสามารถถ่ายเทอากาศได้ดีรากหม่อนไม่ขาดออกซิเจน จุลินทรีย์ในดินสามารถเจริญเติบโตได้ดี หากปล่อยให้น้ำขังโคนต้น หม่อนจะแสดงอาการใบเหลือง ชะงักการเจริญเติบโต และต้นหม่อนจะเหี่ยว การพรวนดินและการรักษาความชื้นในดิน ในฤดูแล้ง ดินจะขาดความชุ่มชื้น ทำให้หม่อนชะงักการเติบโต ไม่มีใบเลี้ยงไหมหรือทำชา การพรวนดินให้ร่วนซุยและใช้วัสดุ เช่น หญ้าแห้ง หรือฟางแห้งคลุมดินจะช่วยรักษาความชื้นในดิน ป้องกันการระเหยของน้ำจากผิวดิน ทำให้ดินมีความชุ่มชื้น การให้ปุ๋ย ปริมาณการให้ปุ๋ยนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งนอกจากปุ๋ยแล้ว อาจจะต้องใส่ปูนขาวเพื่อปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินด้วย แต่การใส่ปูนขาวควรเพิ่มอินทรียวัตถุและต้องใส่ให้เหมาะสม ถ้าใส่ปูนขาวมากเกินไปจะทำให้ปุ๋ยสลายตัวเร็วจนพืชไม่ทันใช้ให้เป็นประโยชน์ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก […]

Read more

การปลูกหม่อน

การปลูกหม่อน

การปลูกหม่อน ในปัจจุบันนี้ ใช่ว่าจะปลูกเพื่อเลี้ยงไหมเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีจุดประสงค์เพื่อจำหน่ายในรูปแบบผลสด ใบชา การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูป หรือเพื่อประโยชน์ทางยา การปลูกหม่อน กลายเป็นส่วนหนึ่งของต้นไม้ในรั้วบ้าน และเป็นเกษตรกรรมทางเลือกใหม่ ที่ทำรายได้ให้เกษตรกรอย่างเป็นกอบเป็นกำทีเดียว ในบทความ หม่อน ผู้เขียนได้เกริ่นไว้ว่า การปลูกหม่อน การดูแลหม่อนนั้นง่ายและไม่ยุ่งยาก แต่ต้องดูแลอย่างถูกวิธี เพราะฉะนั้น เราต้องศึกษาความต้องการของหม่อนให้ดีเสียก่อน ที่จะนำหม่อนมาปลูกนะคะ เริ่มต้นที่…สายพันธุ์ สายพันธุ์หม่อน ที่นิยมปลูกในประเทศไทย พันธุ์เชียงใหม่ 60 ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี เหมาะสำหรับรับประทานสดและแปรรูปทั้งภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม พันธุ์นครราชสีมา 60 ให้ผลผลิตสูง นิยมใช้คุณภาพของใบกับการเลี้ยงไหม และทำใบชา ใบเป็นรูปไข่ สีเขียว มีความนุ่ม ลำต้นมีสีเทา พันธุ์บุรีรัมย์ 60 นิยมปลูกเพื่อรับประทานผลสดและทำใบชา ซึ่งหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60 นี้ให้ผลผลิตใบหม่อน เฉลี่ย 4,300 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อปี ใบใหญ่ หนานุ่ม ไม่เหี่ยวง่าย มีคุณค่าทางอาหารสูง มีความต้านทานต่อโรคใบด่าง ต้านทานโรคราแป้งได้ปานกลาง แต่ไม่แข็งแรงพอที่จะต้านทานโรคราสนิม ขยายพันธุ์โดยใช้ท่อนพันธุ์ปลูกในแปลงโดยตรง ควรปลูกในเขตชลประทาน หรือเขตที่มีปริมาณน้ำฝนสูง พันธุ์ศรีสะเกษ 33 […]

Read more