โรคมะเขือ

โรคมะเขือ

โรคมะเขือ สามารถเกิดขึ้นได้ ถึงแม้ว่ามะเขือจะเป็นพืชที่แข็งแรง ทนต่อโรคต่างๆ ได้ แต่ถ้าผู้ปลูกหรือเกษตรกรไม่ดูแล หรือไม่หมั่นสำรวจ โอกาสที่จะเกิดโรคก็มีได้มาก ปัจจัยที่เอื้ออำนวยการเกิด โรคมะเขือ ต้นพืชอ่อนแอ เติบโตช้า เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ไส้เดือนฝอย หรือธาตุอาหารบางชนิด สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม การจัดการเพื่อป้องกัน โรคมะเขือ วิธีทางเขตกรรม เว้นระยะปลูกให้ห่างอย่างเหมาะสม จัดการระบายน้ำ อย่าให้ท่วมขัง โดยเฉพาะในฤดูฝน บำรุง ดูแล ให้ต้นมะเขือเจริญเติบโต แข็งแรง ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ลดการใช้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง รักษาความสะอาดในแปลงปลูกและบริเวณใกล้เคียง หมั่นกำจัดวัชพืช เมื่อเกิดโรค ให้เก็บส่วนที่เป็นโรค และถอนต้นที่เป็นโรคออกให้หมด แล้วนำมาเผาทำลาย ปลูกพืชหมุนเวียนในพื้นที่ปลูกมะเขือ การใช้สารเคมีกำจัดโรค ควรใช้เมื่อเกิดโรคระบาด ใช้ตามคำแนะนำในฉลากกำกับยาและคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร และติดตามผลหลังการใช้สารเคมี โรคมะเขือที่สำคัญ โรคใบด่างเหลืองของมะเขือยาว และพืชตระกูลมะเขือ เป็นโรคที่สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก ทำให้คุณภาพของผลมะเขือลดลง ทำให้ผลมะเขือยาวลายด่าง ราคาตก ผลผลิตลดลง จำหน่ายไม่ได้ สาเหตุโรคและอาการ เกิดจากเชื้อไวรัส ต้นมะเขือที่เป็นแล้วรักษาไม่หาย และแพร่ระบาดไปยังต้นอื่นๆ หรือแปลงมะเขืออื่นๆ มีแมลงหวี่ขาวเป็นตัวพาหะ การถ่ายทอดโรคเป็นแบบช้า แมลงใช้เวลาดูดกินต้นที่เป็นโรคนาน […]

Read more

มะเขือพวง

การปลูกมะเขือพวง

มะเขือพวง หากนำมารับประทานสด จะมีรสชาติขม ตามคำโบราณว่าไว้ ‘หวานเป็นลม ขมเป็นยา’ วิถีพื้นบ้านชาวไทย จึงนิยมนำมะเขือพวงมาเป็นส่วนประกอบอาหาร และใช้ทางยา การปลูกมะเขือพวงก็ไม่ยาก ดูแลง่าย หากท่านผู้อ่านสนใจจะปลูกไว้สักต้น หรือปลูกเป็นรายได้เสริม ก็จะดีไม่น้อยนะคะและที่สำคัญ มะเขือพวง เป็นไม้ที่ทนโรค ไม่ต้องใช้สารเคมีฆ่าแมลง ปลอดสารพิษ เพราะไม่ต้องลงทุนมาก ประหยัดแรงงาน ประหยัดเวลา รับรองค่ะว่า มีแต่จะได้ประโยชน์ ชื่ออื่นๆ ของ มะเขือพวง ได้แก่ มะแคว้งกุลา(ภาคเหนือ), หมากแข้ง (ภาคอีสาน), มะเขือละคร (โคราช), เขือน้อย, เขือพวง, ลูกแว้ง, เขือเทศ (ภาคใต้) และมะแว้งช้าง (สงขลา) ลักษณะทั่วไป ของ มะเขือพวง ในบรรดาพืชตระกูลมะเขือนั้น ส่วนใหญ่เป็นไม้ล้มลุก แต่มะเขือพวงเป็นไม้ข้ามปี ให้ผลผลิตหลังจากปลูกได้นาน 3 ถึง 4 ปี ชอบความร้อนชื้น ไม่ชอบน้ำท่วมขัง ลำต้น สูงประมาณ 1 ถึง 3 เมตร เป็นต้นเดี่ยวจากดินแตกพุ่มด้านบน มีทั้งสายพันธุ์ที่มีหนาม และไร้หนาม […]

Read more

มะเขือม่วง

มะเขือม่วง

มะเขือม่วง มีประโยชน์มาก มีความกรอบอร่อย รสหวานคล้ายกับมะเขือเปราะ ต่างกันที่สีผล พันธุ์ที่ปลูกส่วนมากมีลักษณะเรียวยาว นิยมทั้งรับประทานสด และนำไปประกอบอาหาร ทั้งในทวีปอเมริกา และยุโรปที่นิยมรับประทานอย่างมาก ส่วนในเอเชียนั้น ประเทศญี่ปุ่น นิยมรับประทาน และเป็นประเทศที่เราส่งออกไปจำหน่ายมากที่สุด ส่วนประเทศไทยยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก เพราะคนไทยยังนิยมมะเขือเปราะที่มีสีเขียวมากกว่า ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ มะเขือม่วง เป็นไม้ล้มลุกอายุข้ามปี ลำต้น มีการแตกกิ่งมาก จนแลดูเป็นทรงพุ่มหนา สูงตั้งแต่ 50 ถึง 150 เซนติเมตร เปลือกลำต้นบาง มีสีม่วงหรือสีเขียว ส่วนเนื้อไม้ด้านใน เป็นไม้เนื้ออ่อน สีขาว เปราะหักง่าย ราก ประกอบด้วยรากแก้ว และรากแขนง ใบ เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ แตกออกเป็นใบเดี่ยวๆ เรียงสลับกันบนกิ่ง ก้านใบยาวประมาณ 5 ถึง 8 เซนติเมตร กว้างประมาณ 8 ถึง 15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15 ถึง 20 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบ มีขนปกคลุม ขนบนใบด้านล่างหนากว่าด้านบน และมีสีเทา […]

Read more

มะเขือยาว

มะเขือยาว

มะเขือยาว ชุบไข่ทอด รับประทานกับน้ำพริกกะปิ…อึมม์…อร่อย โดยส่วนตัวชอบมาตั้งแต่เป็นเด็ก หรือผัดกับเนื้อหมู ใส่เต้าเจี้ยวนิดหน่อย ตามด้วยใบโหระพา ก็ได้อีกหนึ่งเมนูไทย แสนอร่อย พอเริ่มอ้วน ก็มีเพื่อนแนะนำให้เผามะเขือยาว พอสุก มีกลิ่นหอม รับประทานกับน้ำพริก ช่วยลดความอ้วน…..แต่ ลดไม่ได้ค่ะ เพราะรสชาติความอร่อยของมะเขือเผากับน้ำพริกนี่แหละ ทำให้รับประทานข้าวได้เยอะ อันที่จริงโทษมะเขือยาวไม่ได้ ต้องโทษตัวเอง (เริ่มนอกเรื่องแล้ว) กลับมาที่ มะเขือยาว กันต่อ…คนไทยใช้ประโยชน์จากผัก ผลไม้ ทั้งทางอาหารและทางยาควบคู่กันไป และเป็นที่ทราบกันดีว่าการนำมะเขือยาว มาใช้ประโยชน์ทางอาหารนั้น มีหลากหลายเมนูด้วยกัน แต่ที่ไม่ค่อยทราบกัน คือ การนำมาใช้ประโยชน์ทางยาของมะเขือยาว มีอะไรบ้าง? การนำมะเขือยาว มาใช้ประโยชน์ทางยา แก้บิดเรื้อรัง ใช้รักษาโรคบิดเรื้อรัง ถ่ายออกมาเป็นเลือด และแผลอักเสบ ด้วยการใช้ลำต้นและรากแห้งประมาณ 10 กรัม มาต้มเอาน้ำกิน หรือใช้ใบแห้ง นำมาตำให้เป็นผง กินประมาณ 6 ถึง 10 กรัม หรือจะใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากินแก้อาการอุจจาระเป็นเลือด หรือจะใช้ขั้วผลแห้งประมาณ 60 กรัมนำมาต้มหรือนำไปเผาให้เป็นเถ้า บดให้ละเอียดแล้วนำมากิน แก้อาการปวดฟัน ฟันผุ นำดอกแห้งหรือสดมาเผาให้เป็นเถ้า แล้วบดให้ละเอียด ใช้ทาบริเวณที่ปวดหรือนำขั้วผลสดมาตำให้ละเอียด […]

Read more

แมลงศัตรูมะเขือ

แมลงศัตรูมะเขือ

แมลงศัตรูมะเขือ เป็นศัตรูทำลายมะเขือได้ทุกชนิด ทุกสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นมะเขือยาว มะเขือเปราะ มะเขือพวง และมะเขือเหลือง เป็นต้น ถึงแม้ว่ามะเขือ จะเป็นพืชผักที่มีความแข็งแรงก็ตาม แต่เกษตรกรและผู้ปลูกควรป้องกัน ดูแล และแก้ไข เพราะ แมลงศัตรูมะเขือ สามารถสร้างความเสียหายและสูญเสียผลประโยชน์ได้มากมาย ในบทความ แมลงศัตรูมะเขือ นี้ ได้รวบรวมข้อมูลการป้องกันและแก้ไขด้วยวิธีธรรมชาติมานำเสนอไว้ด้วยนะคะ และหวังว่าผู้อ่านจะได้เรียนรู้และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะปลูกมะเขือเพื่อการค้า หรือเพื่อรับประทานในครัวเรือนก็ตาม เพลี้ยไฟ เป็นแมลงประเภท ปากดูด ทำลายพืชผลด้วยการดูดกินของเหลวในพืช เจาะบริเวณที่อ่อนนิ่มของต้นพืช เช่น ใบ หรือ ยอดอ่อน ทำให้ใบเหี่ยวเฉา ย่นเข้าหากันเป็นลักษณะท้องเรือ หรือเหมือนถูกไฟลน ในขั้นรุนแรง ใบที่ทำหน้าที่สังเคราะห์แสงต้องหยุดการเจริญเติบโต ส่วนยอดอ่อนก็จะฝ่อเสีย หากต้นมะเขือยาว หรือมะเขืออื่นๆ อยู่ในช่วงที่ออกผลแล้ว เพลี้ยไฟก็มักจะเลือกดูดผลมะเขือจนเหี่ยว เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ตัวอ่อนมีสีเหลือง ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง เคลื่อนไหวได้เร็ว ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไฟ คือ เพลี้ยไฟตัวห้ำ การป้องกันและแก้ไข หมั่นสำรวจโดยเฉพาะในระยะที่มะเขือแตกใบอ่อน แทงช่อดอก และติดผลอ่อน หรือในช่วงที่อากาศร้อน เคาะส่วนของใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อน […]

Read more