การปลูกมะละกอ

การปลูกมะละกอ ง่ายเหมือนปอกกล้วย แล้วทำไมจึงต้องเรียนรู้ขั้นตอนการปลูก การดูแล และการป้องกันกำจัดโรคและแมลง? เพื่อการปลูกเชิงการค้าและมีปริมาณมาก จำเป็นต้องอาศัยขั้นตอนที่พิถีพิถัน เริ่มตั้งแต่การเลือกพื้นที่ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตมะละกอที่มีคุณภาพตามมาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะการส่งออก ขอเน้นย้ำอีกครั้งนะคะ ว่าต้องปลอดสารเคมีในทุกขั้นตอนหากคิดจะปลูกมะละกอเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ มาดูกันนะคะ ว่าจะแบบไหนที่เหมาะสำหรับ การปลูกมะละกอ? สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกมะละกอ พื้นที่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารต่างๆ ครบ ในสัดส่วนที่พอเหมาะ มะละกอสามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ตั้งแต่ดินเหนียวจนถึงดินทราย แต่ดินที่ดีที่สุดสำหรับมะละกอ คือดินร่วน หากพื้นที่เป็นดินเหนียวหรือดินทราย ควรมีการปรับปรุงดินให้มีความร่วยซุย มีการระบายน้ำที่ดี หน้าดินมีความลึกที่จะให้รากมะละกอเกาะยึดได้แน่นพอสมควร พื้นที่ที่มีหน้าดินและมีชั้นดินดานอยู่ด้านล่างในระดับตื้นๆ ไม่ควรปลูกมะละกอ เพราะจะทำการรากแผ่กระจายออกได้ยาก รากจะเกาะยึดดินได้ไม่แน่นทำให้โค่นล้มได้ง่าย และเมื่อฝนตก น้ำฝนนจะซึมลงในดินได้ยาก ทำให้เกิดสภาพน้ำท่วมขังได้ง่าย ในขณะที่ฤดูแล้งดินจะอุ้มน้ำได้น้อย ต้นมะละกอจะขาดน้ำ หรือมีต้นทุนในการให้น้ำสูงขึ้น ดินมีความเป็นกรดด่างประมาณ 6 ถึง 7 ไม่มีน้ำท่วมขัง มะละกอเป็นพืชที่ไม่มีความทนทานต่อสภาพน้ำท่วมขัง หากถูกน้ำท่วมโคนต้นติดต่อกันนานเพียงแค่ 24 ถึง 48 ชั่วโมง อาจทำให้ต้นมะละกอตายได้ หากไม่ตายก็มีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้ยากมาก เป็นพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดจัด เพื่อให้ลำต้นมีความแข็งแรงไม่โค่นล้มง่าย และให้ผลดก เป็นพื้นที่มีอากาศถ่ายเท ช่วยเพิ่มอัตราการคายน้ำจากใบ เพื่อให้มะละกอดูดธาตุอาหารจากดินได้มากขึ้น ช่วยในการผสมเกสรได้ดี […]

Read more

การขยายพันธุ์มะละกอ

การขยายพันธุ์มะละกอ สามารถปฏิบัติได้หลายวิธี ทั้งแบบใช้เพศ ได้แก่ การเพาะเมล็ด และแบบไม่ใช้เพศ ได้แก่ การปักชำ การติดตา การตอนกิ่ง และการเพาะเนื้อเยื่อ แต่เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีการขยายพันธุ์แบบใช้เพศในการปลูกมะละกอเพื่อการค้า เนื่องจากทำได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับผลผลิตที่จะได้รับ ส่วนขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศมักจะทำกันในกรณีที่ต้องการรักษาพันธุ์ดีเอาไว้ เนื่องจากการขยายพันธุ์แบบนี้จะทำให้มะละกอไม่มีการกลายพันธุ์ และเพื่อเปลี่ยนยอดมะละกอที่มีดอกตัวผู้มีจำนวนมากเกินไป ให้เป็นต้นตัวเมียหรือต้นสมบูรณ์เพศ มือใหม่หัดปลูกมะละกอจะต้องสงสัยเรื่องเพศของมะละกออย่างแน่นอน…มีคำอธิบายค่ะ มะละกอมีปัญหาในการปลูก คือ เพศของมะละกอ โดยสังเกตได้จากดอกซึ่งสามารถแบ่งตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ 3 เพศ 1. มะละกอต้นตัวผู้ ออกแต่ดอก ไม่ติดผล มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสายยาวประมาณ 70 ถึง 120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ การปลูกมะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง 2. มะละกอต้นตัวเมีย จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริง โดยมีช่อดอกยาวปานกลางประมาณ 5 […]

Read more

มะละกอ

มะละกอ

มะละกอ เมื่อได้ยินชื่อนี้เรามักจะนึกถึงส้มตำกันเป็นอันดับแรก สาวๆ ส่วนใหญ่นิยมรับประทานส้มตำมะละกอเพื่อรักษาหุ่น มะละกอ เป็นผลไม้ที่รับประทานได้ทั้งดิบ สุก สด และปรุงสุก ซึ่งเป็นความพิเศษของมะละกอที่มีความหลากหลายในรูปแบบรับประทาน แถมพกพาความอร่อยไปกับทุกรูปแบบนั้นด้วย การรับประทานมะละกอตามวิถีไทยนั้น นำมะละกอมาเป็นส่วนประกอบอาหาร รับประทานสดเป็นผลไม้ และเป็นยาแก้ท้องผูกชั้นดี อาหารที่มีมะละกอเป็นเครื่องชูรส เช่น ส้มตำ แกงส้ม แกงเหลือง แกงป่า และผัดใส่ไข่ เป็นต้น ส่วนการรับประทานมะละกอสดเป็นผลไม้หลังมื้ออาหาร หรือรับประทานแก้ท้องผูก บางคนก็จะบีบมะนาวให้ทั่วจานมะละกอสีส้มที่หั่นเป็นชิ้นๆ ไว้ แล้วจิ้มเกลือ ได้สามรส หวาน เปรี้ยว เค็ม หรือรับประทานเปล่าๆ ได้รสชาติฉ่ำหวานของมะละกอสุกก็เป็นที่นิยมกันมาแต่ดั้งเดิม เมื่อพูดถึงความนิยมที่มีมาแต่ดั้งเดิม ทราบมั๊ยคะว่า แต่ดั้งเดิมของมะละกอกำเนิดมาจากไหน?….มะละกอกำเนิดเกิดขึ้นในอเมริกากลาง แล้วเดินทางมาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี จนมีเกลื่อนตาตามบ้านเรือนทั่วไปในสมัย 4.0 นี้ หลายๆ คนน่าจะคิดว่ามะละกอเป็นผลไม้ไทยไปแล้วด้วยซ้ำ เพราะไม่มีชาติใดในโลกนำมะละกอมาทำเป็นอาหารรสจัดจ้าน เป็นอาหารขึ้นชื่ออย่างชาวไทยที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก และส้มตำก็กลายเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของอาหารไทย ข้อนี้ต้องยกนิ้วให้ผู้ที่ริเริ่มนำมะละกอมาทำส้มตำเป็นคนแรกนะคะ มะละกอที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด ที่เราพบเห็นมีไม่กี่สายพันธุ์ มาทำความรู้จักกับมะละกอกันให้มากขึ้นนะคะ ว่ามีสายพันธุ์อะไรบ้าง สายพันธุ์ใดเหมาะรับประทานแบบไหน ประโยชน์และโทษของมะละกอมีอะไรบ้าง? ติดตามในบทความนี้ได้เลยค่ะ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของมะละกอ มะละกอเป็นไม้ผลล้มลุก อายุหลายปี ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีเกือบทุกสภาพอากาศ ลำต้น […]

Read more