โรคและแมลงศัตรูชมพู่

โรคและแมลงศัตรูชมพู่ พบได้ไม่บ่อยนัก ส่วนใหญจะพบว่า โรคและแมลงศัตรูชมพู่ มีเพียงโรคแอนแทรคโนส โรครากเน่า แมลงวันผลไม้ และหนอนกระทู้หอม เข้ามารบกวนและทำลายชมพู่ ในบางครั้ง ถึงแม้เกษตรกรหรือผู้ปลูกชมพู่ จะปฏิบัติและดูแลรักษาชมพู่เป็นอย่างดีแล้วก็อาจพบการระบาดได้ ก็ควรรีบกำจัดในทันที เพื่อป้องกันความเสียหายหรือการทำลายในขั้นรุนแรง จนต้นชมพู่ตายได้ในที่สุด ดังนั้น เกษตรกรหรือผู้ปลูกควรศึกษาลักษณะอาการ การป้องกันและกำจัด โรคและแมลงศัตรูชมพู่ แล้วนำไปปฏิบัติ โรคชมพู่ โรคแอนแทรคโนส เป็นโรคชมพู่ที่สำคัญที่สุด และพบบ่อยที่สุด คือ โรคแอนแทรคโนส หรือ โรคผลเน่า ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Collectotrichum sp. มักพบระบาดและสร้างความเสียหายให้กับชมพู่ในช่วงที่อากาศร้อนชื้น อบอ้าว และจะระบาดมากขึ้นหากใช้วัสดุห่อผลซ้ำกัน ฝนตกชุกมากเกินไป ผลโดนแดดเผา อุณหภูมิสูงมากทำให้คายน้ำมากจนทำให้เกิดไอน้ำภายในถุงและทำให้ถุงแนบติดกับผลและเกิดการเน่าได้ รวมไปถึงการไว้ผลในช่อมากเกินไปจนทำให้ผลเบียดกัน ทำให้ผลเน่า เมื่อเกิดการเน่าก็จะเป็นช่องทางให้เชื้อราเข้าทำลายและระบาดมากขึ้น โดยเข้าทำลายที่ผลของชมพู่ เริ่มเป็นแผลฉ่ำน้ำ และมีสีน้ำตาลที่ก้นผล แล้วค่อยๆขยายใหญ่ขึ้น และถ้าสภาวะความชื้นของอากาศเหมาะสม จะมีเส้นใยของรามีลักษณะเป็นผงสีดำอยู่ตามบริเวณรอยแผล การป้องกันและกำจัด หลีกเลี่ยงการไว้ผลในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด ควรพ่นสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึม เช่น คาร์เบนดาซิมแมนโคเซบ ล่วงหน้า 1 ถึง 2 วัน ก่อนทำการห่อผลทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการใช้ถุงห่อผลซ้ำ เพราะอาจจะมีเชื้อโรคสะสมอยู่ ควรไว้ผลต่อช่อ […]

Read more

การปลูกชมพู่

การปลูกชมพู่ ที่ผู้เขียนกล่าวไว้ในบทความ ‘ชมพู่’ ไว้ว่า จะมาเฉลยในบทความนี้ว่า ทำไมจึงอยากเชิญชวนให้ผู้อ่านปลูกชมพู่? ด้วยจุดเด่นที่ทำให้ชมพู่ก้าวเข้ามาเป็นไม้ผลเชิงการค้าของประเทศไทยค่ะ ที่ทำให้ชมพู่ น่าปลูก ชมพู่ มีจุดเด่นดังนี้ เป็นไม้ผลที่ปลูกง่ายในทุกพื้นที่ของประเทศไทย และดูแลรักษาง่าย ไม่ค่อยมีปัญหาในการปลูก บางพันธุ์ทนน้ำท่วมขังได้ดี บางพันธุ์ทนแล้งได้ดี และบางพันธุ์ทนอากาศหนาวเย็นได้ดี และมีโรคและแมลงรบกวนน้อยกว่าไม้ผลเชิงการค้าชนิดอื่น เป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตและให้ผลผลิตเร็ว ออกดอกและติดผลได้ง่าย อายุการเก็บเกี่ยวผลสั้น ให้ผลผลิตหลายชุดต่อปี เป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายและหลายวิธี มีหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือกปลูก เป็นไม้ผลอายุยืน ให้ผลผลิตได้หลายปี ให้ผลตอบแทนอย่างต่อเนื่อง เป็นไม้ผลที่ให้ผลผลิตดี มีรูปทรงผลที่สวย สีสันสดใส น่ารับประทาน เกษตรกรได้ทุนคืนเร็ว ให้ผลตอบแทนสูง มีความเสี่ยงในการลงทุนน้อย ต้นทุนการผลิตต่ำ เนื่องจากมีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงน้อย ซึ่งทำให้ปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ปลูกและผู้บริโภค สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกชมพู่ พื้นที่ เป็นดินร่วน ดินทราย ดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียวที่ระบายน้ำได้ดี ชมพู่จะให้ผลผลิตที่มีรสชาติดีในการปลูกในดินทรายหรือดินร่วนปนทราย เพราะมีธาตุไนโตรเจนน้อยกว่าดินเหนียว และอุ้มน้ำได้น้อยกว่าจึงทำให้ความหวานในผลชมพู่เพิ่มขึ้นได้เร็วกว่าชมพู่ที่ปลูกในดินเหนียว น้ำไม่ท่วมขัง เป็นพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ อยู่ใกล้แหล่งน้ำ อุณหภูมิ ชมพู่เป็นพืชเขตร้อน แต่อุณหภูมิก็ยังคงมีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตชมพู่ คือ หากอากาศร้อนจัด หรือมีอุณหภูมิสูงมากเกินไปในบางช่วง ชมพู่จะออกดอกติดผลได้ไม่ดี ดอกจะร่วงได้ง่าย การขยายขนาดผลไม่ค่อยดี สีผลซีดจาง ผลแก่เร็ว […]

Read more

ชมพู่

ชมพู่ ผลไม้ที่มีรสหวานอร่อย ฉ่ำน้ำ รับประทานง่าย เป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งในตลาดผลไม้ประเทศไทยมาเป็นเวลานาน บางสายพันธุ์มีราคาแพง เช่น ชมพู่ทับทิมจันทร์ ที่เป็นไม้ผลทำเงิน จนเกิดเกษตรกรเงินล้านขึ้นมาหลายราย บางสายพันธุ์มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน เช่น ชมพู่มะเหมี่ยว ผู้เขียนจะขออุบเหตุผลที่อยากชักชวนท่านผู้อ่านปลูกชมพู่ไว้ก่อนค่ะ ( ถ้าอยากทราบ ติดตามบทความ ‘การปลูกชมพู่’ นะคะ ) ในอดีต คนไทยนิยมปลูกชมพู่ไว้เป็นไม้ผลกินได้ที่ให้ร่มเงาในบริเวณบ้าน แต่เมื่อชมพู่เพชรบุรีเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นจึงมีเกษตรกรปลูกชมพู่เป็นการค้าเพิ่มขึ้นมาก ชมพู่หลายชนิดมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย แล้วค่อยแพร่กระจายเข้าสู่ประเทศในเขตร้อนชื้น โดยเฉพาะแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย ปัจจุบัน ชมพู่พบปลูกในทุกภาคของประเทศไทยโดยมีแหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และสมุทรสาคร ลักษณะทางพฤกษศาสตร์โดยรวมของชมพู่ ลำต้น สูงประมาณ 5 ถึง 20 เมตร เปลือกลำต้นเรียบหรือขรุขระ มีสีน้ำตาลหรือเทา มักแตกกิ่งก้านสาขาบริเวณใกล้กับโคนต้น ใบ ชมพู่ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบตรงกันข้าม ใบหนาผิวด้านหลังใบเป็นมันสีเขียวเข้ม และมักเจือด้วยสีแดงหรือม่วง ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ สีดอกแตกต่างกันไปตามพันธุ์อาจจะเป็นสีขาว เหลือง ชมพูหรือแดง การออกดอกในประเทศไทยแบ่งได้เป็นรุ่น 2 รุ่นใหญ่ รุ่นแรกเริ่มประมาณเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน รุ่นที่สองเริ่มประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม […]

Read more

การดูแลชมพู่หลังการปลูก

การดูแลชมพู่ หลังการปลูก มีหลายขั้นตอนและต้องให้ความเอาใจใส่เป็นอย่างดี ในขณะที่การปลูกชมพู่นั้นง่ายนิดเดียว อันที่จริงแล้ว ไม่ว่าจะปลูกอะไรก็ต้องใส่ใจดูแลเป็นประจำ แต่สำหรับชมพู่แล้ว ผู้เขียนเคยสงสัยว่าทำไมจึงมีราคาค่อนข้างสูง เมื่อได้รู้ถึงขั้นตอนการผลิต ก็รู้สึกได้ว่า ราคาค่าเหนื่อย ที่เทียบกับรสชาติที่อร่อยของชมพู่นั้น คุ้มค่าสมราคาจริงๆ ลองศึกษาขั้นตอนต่างๆ ดูนะคะ เพื่อนำไปปฏิบัติหรือปรับใช้ในการปลูกชมพู่ ขั้นตอนการดูแลชมพู่ การให้น้ำ การวางแผนและการจัดการระบบน้ำ เป็นหัวใจสำคัญของ การดูแลชมพู่ เพราะชมพู่เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก จึงจำเป็นต้องจัดเตรียมแหล่งน้ำให้พอเพียงกับความต้องการของพืชในการออกดอกติดผล โดยคำนึงถึงพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกเป็นหลัก ดังนี้ พื้นที่ลุ่ม ควรใช้การปลูกแบบยกร่อง โดยมีร่องน้ำกั้นระหว่างแปลงปลูก ความกว้างของแปลงที่นิยมที่สุดประมาณ 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่จะทำการให้น้ำด้วยเรือรดน้ำได้สะดวก พื้นที่ดอน ชมพู่ที่ปลูกบนพื้นที่โดยตรงด้วยระบบยกร่องลูกฟูก นิยมให้น้ำด้วยการติดตั้งระบบสปริงเกลอร์ เพื่อความสะดวกในการให้น้ำ หรือระบบลากสายยางรดน้ำซึ่งลงทุนน้อยกว่าระบบสปริงเกลอร์ ส่วนระบบน้ำที่เหมาะกับการปลูกชมพู่มากที่สุด คือ ระบบมินิสปริงเกลอร์ ที่อัตราการจ่ายน้ำอย่างน้อย 150 ลิตร ต่อชั่วโมง รัศมีน้ำประมาณ 2 เมตร หรือเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 เมตร หลักการให้น้ำชมพู่ที่มีประสิทธิภาพ คือ การให้น้ำแบบค่อยๆ ซึมลงไป ไม่ไหลออกนอกเขตรากมากเกินไปเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ เป็นการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพที่สุด ส่วนการให้น้ำในปริมาณมากและระยะสั้น […]

Read more